หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

บทสวดพระคาถา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม


                              บทสวดพระคาถา  ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม🙏🙏🙏


พิธีไหว้พระและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

           ก่อนเข้าห้องบูชาพระ ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ ๓ หน แล้วสงบจิตระลึกถึงคุณบิดา มารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อนแล้วจุดเล่มด้านซ้าย ต่อไปจุดธูป ๓ ดอก เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้ว เอาจิต(นึกเห็น) พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่งคุกเข่าประนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า และนมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก จะเพิ่มความขลังและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต พึงทราบด้วยว่า การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ ขออย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตนเอง

                                                        🌺🌼🍀🌷🍀🌼🌺





                                        ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ฉบับเดิม

๑. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะ โส ภะคะวา.

อะระหันตัง สะระนัง คัจฉามิ.
อะระหันตัง สิระสา นะมามิ.
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ.

วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ.
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ.

สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ.
สุคะตัง สิระสา นะมามิ.
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ.
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ.

๒. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะ มะนุสสานัง วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.

อะนุตตะรัง สะระนัง คัจฉามิ.
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ.
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ.
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ.
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
พุทธัง สิระสา นะมามิ.

๓. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.

๔. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อาโป ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เตโช ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วาโย ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.

๕. อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ยามา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อรูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.

๖. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.

๗. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.

๘. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.

๙. กุสะลาธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชมภูทีปัญจะ อิสสะโร กุสะลาธัมมา นะโม พุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ ปัญจะพุทธา นะมามิหัง อาปามะจุปะ ทีมะ สังอังขุ สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะสะเห ปาสายะโส ฯ

โสโส สะสะ อะอะอะอะ นิ เตชะ สุเนมะ ภูจะนาวิเว อะสังวิสุโลปุสะพุภะ อิสะวาสุ, สุสะวาอิ, กุสะลาธัมมา จิตติ วิอัตถิ.

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยะวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิ ปัญจะ อิสสะโร ธัมมา.

กุสะลาธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.


๑๐. จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะ ชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ตะวะติงสา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นันทะ ปัญจะสุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ยามา อิสสะโร กุสะลาธัมมา พรหมา สัททะ ปัญจะสัตตะ สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมาะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ตุสิตา อิสสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

พรหมา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวาะตา ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ

๑๑. นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ พุทธิลาโลกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.

อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมสาวัง มะหาพรหมสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มะหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ.

สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิ กัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญา นิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

๑๒. นะโมพุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิ โส ภะคะวา.

นะโมธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโมสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม.

นะโมสังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง.

นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโย โมนะ อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะอะวันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ฯ

                                                         🙏🙏🙏

                                 อานิสงส์การสวดและภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก

           ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้สำหรับสวดและภาวนาทุกเช้าค่ำ เพื่อความสวัสดีเป็นศิริมงคลแก่ผู้สาธยายอันเป็นบ่อเกิด มหาเตชัง มีเดชมาก มหานุภาวัง มีอานุภาพมาก และมีลาภยศสุขสรรเสริญ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย อุปัทวันตราย และความพินาศทั้งปวง ตลอดทั้งหมู่มารร้าย และศัตรูคู่อาฆาตไม่อาจแผ้วพาลได้

           อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง เป็นต้น ถ้าสาธยายหรือภาวนาแล้วจะนำมาซึ่งลาภยศ สุขสรรเสริญและปราศจากอันตรายทั้งปวง ตลอดทั้งเป็นการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เป็นการเจริญพระพุทธานุสสติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นแดนเกิดของสมาธิอีกด้วย

           อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว เป็นการมอบกายถวายชีวิตไว้กับองค์พระพุทธเจ้า หรือเอาองค์พระพุทธเจ้าเป็นตาข่ายเพชร คอยปกป้องคุ้มครองรักษาชีวิตให้ปราศจากเวรภัย

          อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว ขออาราธราบารมีธรรมของพระพุทธองค์สิงสถิตในเบญจขันธ์ของเรา เพื่อให้เกิดพระไตรลักษณาญาณ อันเป็นทางของนิพพานสืบต่อไป

          อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีสะมาธิญาณะสัมปันโน เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนา ขออำนาจสมาธิญาณของพระพุทธองค์เป็นไปในธาตุ ในจักรวาล ในเทวโลก หรือในกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และในโลกุตตรภูมิ ขอจงมาบังเกิดในขันธสันดานของข้าพเจ้า หรือเรียกว่าเป็นการเจริญสมถภาวนา อันเป็นบ่อเกิดเแห่งรูปฌาน อรูปฌาน อภิญญา เป็นการเจริญวิปัสสนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งมรรค ผล นิพพาน เป็นการหลุดพ้นจากกิเสสทั้งปวง ฯ

          กุสะลาธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา เป็นต้น เป็นการสาธยายหัวใจพระวินัยปิฏก หัวใจพระสุตตันตปิฎก หัวใจพระอภิธรรมปิฎก และเป็นหัวใจ พระพุทธเจ้า ๕๐๐ ชาติ พระพุทธเจ้า ๑๐ ชาติ และหัวใจ อิติปิโส ตลอดทั้งหัวใจอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เมื่อภาวนาแล้วจะนำลาภ ยศฐาบรรดาศักดิ์ ทั้งอายุ วรรณะ สุขะ พละ และจะป้องกันสรรพภัย ต่างๆ เพื่อให้เกิดความสวัสดิ์มงคลแก่ตนและบุตรหลานสืบไป

           อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาเสร็จ มีทั้งอำนาจ ตบะ เดชะ ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองทุกประการ

           พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายต่างก็กล่าวเน้นว่า พระพุทธศาสนาเป็นของจริงของแท้ ที่เรายึดมั่นเป็นหลักชัยแห่งชีวิตได้ ยิ่งมีการปฏิบัติธรรม ทั้งทาน ศีล ภาวนา สม่ำเสมอ ความสุข ความเจริญเกิดขึ้นแก่ตนแน่อย่าสงสัย การรวยทรัพย์สินเงินทองไม่ได้ก่ออานิสงส์ไม่เท่ากับรวยบุญรวยกุศล ซึ่งจะบังเกิดความสุขความเจริญในปัจจุบัน และตามติดวิญญาณไปทุกภพทุกชาติด้วย

           ฉะนั้น ชาวพุทธทั้งหลาย จงเจริญภาวนา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกทุกเช้าค่ำเถิด จะบังเกิดความสวัสดิ์มงคลแก่ตนเองและครอบครัยว ให้มีความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วหน้า


                                                    
                                                           🌺🌼🍀🌷🍀🌼🌺


ขอน้อมกราบนมัสการ คุณพระศรีรัตนตรัย ด้วยความเคารพและศรัทธา เจ้าค่ะ 🙏🙏🙏
ขอน้อมกราบขอบพระคุณ คณะผู้จัดสร้างหนังสือสวดมนต์ ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร  ขอน้อมกราบอนุโมทนาสาธุ และสำนึกในพระคุณ ด้วยจิตศรัทธา เจ้าค่ะ🙏🙏🙏




























https://th.wikipedia.org/wiki/วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร#/media/ไฟล์:Phra_Prathan_Yim_Rub_Fa_(II).jpg

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564

อรรถประวัติ นิยายธรรม หญิงสองร่างนางสองชาติ โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

 



อรรถประวัติ นิยายธรรม หญิงสองร่างนางสองชาติ  โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

น้อมกราบนมัสการ พ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม   สาธุ สาธุ สาธุ  เจ้าค่ะ 🙏🙏🙏
น้อมกราบอนุโมทนาสาธุบุญ ต้นเรื่องนิยายธรรม คุณยายสอิ้งและคุณตาปุ่น กราบสาธุค่ะ🙏🙏🌷🌸🌹🌺

              เรื่องมาสร้างกุฏิกรรมฐานโดยหญิงสองร่างนางสองชาติ อาตมาเคยคิดว่ามันจะมีอย่างไรเรื่องนรกสวรรค์ แต่มีประสบการณ์กับที่วัดเรานี่เอง เมื่อตอนที่อาตมาอยู่ที่วัดนี้ พ.ศ. ๒๔๙๙ พอดี ๒๕๐๐ กุฏิกรรมฐานไม่มีเลย ยังไม่ได้มาเริ่ม เริ่มมาจากที่อื่น สอนกรรมฐานมาเมื่อ ๒๔๙๕ สอนมานาน เมื่อสอนแล้ว มาอยู่ที่วัดนี้ มาเป็นเจ้าอาวาส มาประสบการณ์กับหญิงสองร่างนางสองชาติ จึงได้สร้างกฏิกรรมฐานต่อเนื่องมาตามลำดับจนบัดนี้

            เล่าถึงประวัติ นายปุ่น นางสอิ้ง นายปุ่นบวช ๒-๓ พรรษา สวดปาติโมกข์ได้รุ่นเก่าแก่นานมาแล้ว แล้วเจริญกรรมฐาน เมื่อสึกแล้วก็มาแต่งงานกับแม่สอิ้ง อยู่ด้วยกันมีลูก ๒ คน ตาปุ่นเป็นคนรำ่รวย อยู่ในอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ นายปุ่นนี้จิตใจเป็นมหากุศลสวดมนต์ไหว้พระตลอด แต่นางสอิ้งใจบาปหยาบช้า มีร่างกายที่เขาเขียนรูปไว้ นุ่งผ้าโจงกระเบน เสื้อเตี่ยว มีผมก็ทัดหู มีสร้อยใส่ ไปบ้านใครต้องลักขโมยตลอดเวลา แล้วมาวันหนึ่ง นางสอิ้งไปช่วยงานหลานตาปุ่นบวชในพระศาสนา นางสอิ้งก็ลักทอง ลักสร้อยแล้วก็บุ้ยใบ้ไปโทษหลานตาปุ่นที่ยากจนกว่า ตีเสียหัวร้างข้างแตก แล้วยัดเยียดให้เป็นคนขโมย แท้จริงตัวที่เป็นขโมยแท้ๆ ไม่มีใครเชื่อว่านางสอิ้งนี่เป็นขโมย เพราะเป็นคนรวย มีจิตใจเป็นอกุศลเป็นอย่างนี้ ทำบาปหยาบช้าเหลือเกิน สวดมนต์ก็ไม่เป็น นางสอิ้งอ่านหนังสือไม่ออก ตาปุ่นสวดคนเดียวแทน ตาปุ่นเป็นสามีที่ดีของศรีภรรยา ไม่มองภรรยาในแง่ร้ายแต่ประการใด ไม่มีการนินทาลูกเมียนี่ประการหนึ่ง

             ประการที่สอง เขานิยมการไปทำไร่ไถนา โฉนดไม่มี ใครอยากจะมีขยันขันแข็งก็ไปถากถางเอาเอง บุกป่า ฝ่าดงพงไพรมีนาอยู่หลายร้อยไร่ เพราะด้วยความขยัน พ่อ แม่ของเขาทำสืบเนื่องกันมาตามลำดับ มีบ้านทรงไทย ๒ หลังแฝด และเรือนหออีกหลังหนึ่ง มีครบทุกรายการ แล้วก็ทุกปีที่ทำนาไปปลูกโรงนาอยู่กลางทุ่งกลางนา ในเมื่อเป็นเช่นนี้เขามีลูกจ้าง ๕ คน จ้างมาจากภาคอีสานคนละ ๒๐ บาท ข้าวคงจะเกวียนละ ๔๐ หรือ ๘๐ จำไม่ได้มันนานแล้ว เวลาไปอยู่โรงนา ตาปุ่นก็ต้องเฝ้าบ้านอยู่กะแม่ แต่เมียเป็นคนจักการเสร็จไปออกไปโรงนา พอเกี่ยวข้าวเกี่ยวปลาเสร็จ แล้วเมื่อก่อนนี้มีพระแทะมีเกวียน เวลานวดข้าวเสร็จแล้วก็ใช้สากเอา ใช้ลมกลางทุ่ง เวลาก่อนจะนวดก็ใช้ลูกจ้างไปลักข้าวเขาตามโน่นตามนี่มาใส่ ทุกปีลักข้าวเขามาใส่ บาปมาก ไม่มีใครจับได้ เพราะเนื่องจากว่า ตาปุ่น นางสอิ้ง ในหมู่บ้านตำบลนั้น เป็นทุนให้แก่คนอื่นอีกหลายทุนด้วยกัน สามีก็ไม่ทราบว่าภรรยาเป็นขโมย

            แล้วปีสุดท้ายนางสอิ้งมีทอง ๒ เส้น สายสะพานหนักเส้นละ ๘ บาท ปีนั้นกำลังตั้งครรภ์ขึ้นอีก ก็ใจคอหงุดหงิดสังหรณ์ในใจว่าปีนี้โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนออกไปทำนาก็มีโรงนาปลูกไปประจำ จนเกี่ยวข้าวขายเรียบร้อย นางสอิ้งเอาทองไปฝังในโรงนา  โดยที่คิดอกุศลกลัวลูกจ้างจะลัก อยู่บ้านกลัวจะไม่ปลอดภัย แล้วก็ใช้วิธีอย่างเดิมให้ลูกจ้างไปลักข้าวอีก ยังไม่ทันนวด พอดีเกิดคลอดบุตรตายทั้งกลมคานา ตายแล้ว ตาปุ่นก็จัดงานศพ

           นางสอิ้งเล่าว่ารู้หมดไปตกนรก ๑๐๐​ ปี เวลานั้นถึงวันโกนวันพระ มีพระมาลัยมาโปรดสั่งสอนในวันพระ แล้วในเมืองนรกเขาให้สวดมนต์ไหว้พระ นางสอิ้งไม่เคยสวดได้เมื่อตอนอยู่ในภพมนุษย์ นางสอิ้งสวดได้หมด ทำวัตรเช้าเย็นฯ พระมาลัยได้โปรด เทศน์เรื่องกรรมในโลกของนรกนั้น ในภพนั้นได้สวดมนต์ไหว้พระเจริญวิปัสสนากรรมฐานเหมือนกันสองอย่างนั้น

            กล่าวถึงภพมนุษย์ ตาปุ่นก็คิดถึงลูกเมีย เมื่อนวดข้าวเสร็จเรียบร้อยก็ขายส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็เอาไปก่อพระเจดีย์ทรายข้าวเปลือกอุทิศส่วนกุศลให้แม่สอิ้งศรีภรรยาของตน พออุทิศส่วนกุศลให้แล้วก็ได้ความว่าในโลกนรกนั้นได้อภัยโทษ นางสอิ้งได้ทำคุณงามความดีสวดมนต์ไหว้พระในเมืองนรก คงจะเป็นยมบาลบอกเหตุการณ์ให้นางสอิ้งฟังว่า สามีของเธอได้เอาข้าวที่ร่วมงานกันเอามาก่อพระเจดีย์ทรายข้าวเปลือกในวัดและอุทิศส่วนกุศลมาให้เธอก็ขอให้อภัยโทษเธอ ๒๐ ปี เหลือ ๘๐ ปี

            ต่อมานายปุ่น เห็นเรือนหอคิดถึงภรรยาทุกวัน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องการเอาเรือนหอไปถวายวัด เอาไปปลูกกุฏิเป็นทรงไทยต่อไปตามลำดับ สมภารเจ้าวัดก็เห็นด้วย นายปุ่นก็สร้างกุฏิ เมื่อเสร็จแล้วก็ฉลองกันใหญ่ มีหมอลำ และมีหนังตลุง ๒ อย่าง ฉลองวันไหนรู้หมด ฉลองเสร็จแล้วก็ถวายเป็นการสงฆ์ให้แก่พระสงฆ์ทุกสารทิศทั้งที่มาจากทิศใดก็ตาม ถวายเป็นสังฆทานอุทิศแด่พระสงฆ์ เรียบร้อยแล้วก็อุทิศส่วนกุศลให้แก่ภรรยาของตน ก็ได้ลดอภัยโทษอีก ๒๐ ปี เหลือ ๖๐ ปี

            นายปุ่นคิดว่าลูกก็โตแล้ว พ่อจะบวชในพระศาสนา บวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ภรรยาของตนต่อไป สึกขาลาเพศแล้วก็แต่งงานใหม่ ก็ได้ปรึกษาสมภารๆ ก็ว่าไม่ต้องสวดปาติโมกข์หรอก เคยสวดปาติโมกข์ได้ บวชแล้วก็ให้ถือธุดงควัตรปฏิบัติฉันข้าวเวลาเดียวอยู่ในป่าช้า เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ภรรยาของตนต่อไป ตาปุ่นก็ได้บวชในพระศาสนาอยู่ ๑ พรรษา เจริญวิปัสสนากรรมฐานอโหสิกรรม และอุทิศส่วนกุศลให้ภรรยา ก็ไม่ได้ทราบว่าภรรยาไปตกนรก หรือขึ้นสวรรค์ประการใด พอออกพรรษาก็กราบลาสมภารสึกขาลาเพศไป แล้วไปแต่งงานกับภรรยาใหม่ต่อไป เมื่อสึกไปแล้วกุศลผลบุญก็ไปถึงแม่สอิ้งในเมืองนรก

             ยมบาลก็ให้อภัยโทษอีก ๔๐ ปี บอกว่าสามีของเธอได้บวชในพระศาสนา ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานอุทิศส่วนกุศลมาขอให้อภัยโทษ ๔๐ ปี เหลือ ๒๐ ปีนี้ เพราะเธอมีโทษ หนึ่งลักทองแล้วโยนความผิดไปให้คนอื่น สองที่บาปหนักคือ ลักข้าวให้อภัยไม่ได้

             เธอจะเอาอย่างนี้ไหม ก็เห็นว่าเธอมีคุณงามความดีสวดมนต์ไหว้พระเป็นหัวหน้าในเมืองนรกเจริญกรรมฐานในที่สุด จะให้กลับไปอยู่เมืองมนุษย์ ๒๐ ปี ไปใช้หนี้ผัว และจะต้องไม่กลับมาที่นี่ แต่ให้สัญญานะเจ้าจะต้องรักษาอุโบสถทุกวันพระ ทำได้หรือไม่ ประการที่สอง จะต้องไปสร้างกุฏิกรรมฐานเงิน ๑ ชั่ง ไม่เกินไม่ขาดเพื่ออุทิศส่วนกุศล มิฉะนั้นจะต้องกลับมาเมืองนรกอีก อย่างนี้นางก็รับปาก

             ก็มาเกิดใกล้บ้านตาปุ่น ประมาณ ๒ กิโลกว่าๆ มาเกิดเป็นลูกตาแป๊ะแก่ อยู่คนละตำบล แต่รู้จักกัน แปะแก่ได้ภรรยามา ๑๕ ปี ไม่มีบุตร ภรรยาสาว แต่ผัวก็ ๕๐ กว่าแล้ว แต่เกิดมามีบุตรตอน ๑๕​ ปีผ่านไป บุตรนั้นได้แก่นางสอิ้งนั้นเอง นางสอิ้งคนเดิมรูปร่างเหมือนยักษ์ขะหมูขีมีไผขี้แเมลงวันเม็ดเบ้อเร่อ แล้วจอนตัดทัก ใบหู ดำปี๋ นุ่งผ้าโจงกระเบน ผอมเกร็ง อาตมารู้เพราะดูรูปที่เขาแต่งงานกับตาปุ่น

            เมื่อเป็นเช่นนี้ พอ ๑๑ ปีผ่านก็รำลึกชาติได้ เตี่ยหนูนี่ไม่ใช่ลูกนะ ฉันนี้เป็นนางสอิ้งภรรยาตาปุ่น ตำบนโน้น เตี่ยก็ยังไงกันก็ไปปรึกษาตำบลโน้น ตำบลนี้ เอาอย่างนี้ให้มันลืมเรื่องเสียว่าจะจริงเท็จยังไงไม่ทราบ ก็เอาไข่หลงรัง ไข่ที่ตายโคม ไข่ข้าวเอามาต้มให้กินมันก็ไม่ลืม

           พออายุถึง ๑๕ ปีแล้ว ให้พาไปบ้านตาปุ่น เตี่ยอดรนทนไม่ได้ก็พาไป อายุ ๑๕ ปีแล้ว รูปร่างสวยขาว เพราะเป็นลูกเจ๊ก แต่วิญญาณของนางสอิ้งคนเดิม พอไปถึงบ้านตาปุ่น ก็ถามว่าพี่ปุ่นจำฉันได้มั๊ย ตาปุ่นก็อายุ ๗๘ แล้ว ฉันสอิ้งยังไงเล่า ตาปุ่นเข้าใจผิดคิดว่าไอ้ตาแปะนี่คงจะเสี้ยมสอนลูก ให้ว่าเป็นนางสอิ้งจะมาเอาสมบัติ เพราะตาปุ่นแกรวย ตาแปะแกก็ไม่ใช่คนรวย พอมีพอใช้ มีอาชีพทางแลกข้าว ขายโชห่วย ก็เล่าให้ฟัง ตาปุ่นก็ไม่ยอมรับเชื่อ พี่ปุ่นจำได้มั๊ยว่าตอนอยู่กับพี่ปุ่นมาตอนบวชหลาน ฉันนี้เป็นคนลักทอง แล้วไปโทษหลานข้อเท็จจริงฉันเป็นคนเอา เพิ่งมารู้ความจริงในชาตินี้ ยังไม่เชื่ออาจเป็นการเสแสร้งแกล้งเล่าก็ได้

              เรื่องที่ ๒ เล่าต่อไปว่า "พี่ปุ่นตอนที่ฉันออกลูกตายทั้งกลมนั้น ฉันไปตกนรกอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี พี่ปุ่นเอาข้าวไปถวายวัด ก่อพระเจดีย์ทรายข้าวเปลือก ฉันก็ได้ลดโทษมาตามลำดับ นอกเหนือจากนั้นก็เอาเรือนหอไปถวายวัด ฉันก็รู้ในวันที่เท่านั้นได้อุทิศส่วนกุศล ยังมีหมอลำ และหนังตะลุงในวันนั้น

เรื่องต่อไป พี่ปุ่นได้บวชในพระศาสนา ฉันก็ได้รับส่วนบุญกุศล ลดโทษไปตามอันดับดังที่กล่าวแล้ว นอกเหนือจากนั้น ที่ฉันมาเกิดใหม่นี้ ได้ลดโทษานุโทษมาแล้ว แต่ ๒๐ ปี ลดไม่ได้เนื่องจากสร้างบาปลักทอง ลักข้าวให้อภัยไม่ได้ ฉันก็ต้องกลับมาอยู่กับพี่ปุ่นต่อไป แล้วให้สัญญากับทางนรกมาว่า ให้รักษาอุโบสถทุกวันพระ สวดมนต์ไม่ขาดและต้องไปสร้างกุฏิกรรมฐานด้วยเงินหนึ่งชั่ง"

                ตาปุ่นรับฟังเฉยๆ ยังเชื่อแน่ไม่ได้ แม่สอิ้งในร่างใหม่จึงถามต่อไปว่า "พี่ปุ่น ทองหมั้นของฉันยังอยู่มั๊ย" "ทองอะไร" " มีสายสะพาย ๒ เส้น เส้นหนักละ ๘ บาท" ตาปุ่นก็นึกไม่ออก ไม่ทราบว่ายังอยู่มั๊ย แต่มันไม่มีแล้วบัดนี้ จำความไม่ได้ นางสอิ้งก็เล่าต่อไปว่า "พี่ปุ่นโรงนายังอยู่มั๊ย" "โรงนาไม่มีอยู่แล้ว เพราะนาก็แบ่งให้ลูกเก่าหมดแล้ว มีเขยมีสะใภ้ไปหมดแล้ว" นางสอิ้งบอกว่าจำได้เลาๆ "ต้นกระทุ่มมีมั๊ย" "ยังอยู่" ก็พากันออกไปที่นาเดินออกไปที่นาหลายกิโล จ้างเขาขุด ในที่สุดได้สร้อยคืนมา ๒ เส้น หนักเส้นละ ๘ บาท ตาปุ่นจึงยอมรับว่าเป็นนางสอิ้งจริง ในที่สุดก็ไม่กลับไปอยู่กะเตี่ยแม่ อยู่กะตาปุ่นต่อไป













               แม่สอิ้งก็เล่าความให้อาตมาฟังว่า ๓ คนด้วยกัน ภรรยาใหม่ อายุ ๗๒ สามี ๗๘ ก็ปรึกษาปรองดองกันว่า ฉันรับคำมั่นสัญญาจะต้องไปสร้างกุฏิกรรมฐานให้ได้ สามคนนี้ก็เดินทางไปหาทางสร้างกุฏิกรรมฐาน เอาสร้อยไปด้วย ไปปากน้ำโพ ลงเรือแดงจากปากน้ำโพ มากรุงเทพ แสวงหาว่าที่ไหนมีสำนักกรรมฐานก็ให้เทวดาสนใจดลบันดาลสามคนนั้น ก็ลงเรือแดงมาขึ้นที่สิงห์บุรี อาตมาก็มาอยู่ที่วัดนี้ เขาก็ไปถามชาวตลาดว่า ที่ไหนเป็นสำนักวิปัสสนามีมั๊ย จังหวัดสิงห์บุรีนี้ เลยพอดีไปเจอญาติของโยมสุ่นหาบของไปขาย เขาก็เลยเล่าว่า อาตมาได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดอัมพวันแล้ว ลองเดินทางไปถามดูว่าจะสร้างกุฏิกรรมฐานมั๊ย เห็นท่านสอนกรรมฐานมาช้านาน เลยสามคนก็ลงเรือเมล์ต่อจากนั้นก็มาขึ้นที่หน้าวัด ก็เดินเข้ามาหาอาตมาเล่าเหตุการณ์ให้ฟัง

              อาตมาก็ตกใจข้อไหนรู้มั๊ย ว่าไปลักข้าว อาตมานี่ตัวลักข้าวมากกว่ายายสอิ้งอีก มันตกใจตอนเป็นเด็กเวลาโรงเรียนปิด อย่าลืมอาตมาไปกะยายเม้าๆ เป็นหมอตำแยเก่า ถามว่าป้าเก็บข้าวตกได้วันละเท่าไหร่ ได้วันละกระผีก แล้วเอ็งได้เท่าไหร่ ผมได้วันละ ๑๐ กว่าถัง เอ็งทำไมเก็บได้มากมายนัก ก็ยายไปเซ่อทำไมที่เป็นฟ่อนนี่ก็ใส่กระสอบเข้าซิ แล้วข้าวที่เขานวดไว้กลางทุ่งก็ใส่กระสอบเลย นี่ลักอย่างนี้ ลักมากกว่ายายสอิ้งอีก ถ้าหน้าข้าวต้องออกอย่างนี้ ตกใจแต่ไม่พูดอะไร นางสอิ้งมีประโยชน์ที่โบสถ์เก่าเวลาพระทำวัตรเขาเข้าไปด้วย มาค้างหลายคืน โยโส ภควา สวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นได้ทั้งหมดดีกว่าพระ ได้มาจากเมืองนรก ตอนนั้น อายุ ๑๖ ปีแล้ว ตาปุ่น ๗๘ อาตมายังเย้าเลย นี่สอิ้งอยู่กะตาแก่ทำไมไม่อยู่กะหนุ่มดีกว่าเข้าท่ากว่า เพราะรูปร่างสวย มารยาทดี เปลี่ยนแปลงตามสภาพ

              ก็แม่สอิ้งได้สร้างกุฏิกรรมฐานข้างโบสถ์เป็นหลังแรก เขาบอกว่าสร้างแล้วต้องมีน้ำหล่อไม่ให้มดขึ้น อาตมาก็ทำเป็นน้ำหล่อเดี๋ยวนี้มาแปลงใหม่ สร้างเป็นหลังแรกของวัดนี้ สร้างเสร็จครบ ๘๐ บาทพอดี บ้านทายกชื่อโยมเล็ก สุขสายพงศ์ ปีเดียวกะตาปุ่นอายุ ๗๘ ต้องมาพักบ้านนี้อาศัยข้าวบ้านนี้ทาน ตอนนั้นโรงครัวไม่มี บ้านอยู่ข้างวัด เริ่มทำกรรมฐานหมดเงิน ๘๐ บาท พอดี ไม่เกิน ไม่ขาด ในเวลาต่อมา

              พอสร้างเสร็จเขาก็กลับบ้าน กลับไปแล้ว อาตมาตามไปดูบ้าน ทองก็ได้เห็นขอจับดูด้วย หลังจากนั้น ตาปุ่นเริ่มเป็นอัมพาตต้องป้อนข้าว ป้อนน้ำ เช็ดก้น ก็ได้นางสอิ้งปรนนิบัติ เมียใหม่ก็ไม่ได้ทำอะไร อยู่คนละหลัง ก็ปฏิบัติได้อย่างดีมาก ทั้งๆที่ สาวกะตาแก่คนนี้ แม่สอิ้งอีก ๕ ปี ครบ ๒๐ ปีตามสัญญาในเมืองมนุษย์

             อาตมาก็ติดตามสรุปแล้วได้ความว่าพออายุ ๒๐ ปีพอดี ตาปุ่นยังไม่ตาย เป็นอัมพาต นางสอิ้งก็ปฏิบัติเรียบร้อยดีทุกอย่าง พอดีวันนั้นทำกับข้าวไปวัด พอเสร็จแล้ว นางสอิ้งก็ฟุบลงไปตายคาที่อายุ  ๒๐ ปีบริบูรณ์ อาตมายังไปเผา

             เรื่องนี้เป็นความจริงพอนางสอิ้งตาย ตาปุ่นก็ ๘๐ กว่าปีแล้ว เผานางสอิ้งเรียบร้อยก็ตาปุ่นตาย อีก ๒ ปี เมียใหม่ก็ตายหมด บัดนี้บ้านก็แยกย้ายกันไป เมื่อเร็วๆนี้ อาตมาไปเทศน์ที่ตำบลท่าตะโก ยังมีคนยังรับรู้อยู่อีกคนอายุ ๙๑ ปี เจ้าคณะอำเภอเก่า พระครูนิพันธรรมคุต ท่านก็มรณภาพไปนานแล้ว

           เรื่องนี้ชี้ให้เห็นได้ว่า หญิง ๒ ร่าง นาง ๒ ชาติ บาปกรรมหนักหนา แล้วเมืองนรกก็มีการสวดมนต์ไหว้พระ นางสอิ้งก็ถึงแก่ความตายตามสัญญา ๒๐ ปีพอดี วัดนี้ก็ได้ กุฏิกรรมฐานของแม่สอิ้ง อาตมาก็กลัวเกรงไปว่า บาปกรรมจะติดพันมา เดี๋ยวจะให้อภัยโทษไม่ได้เลยสร้างกุฏิกรรมฐานเป็นการใหญ่ สร้างเป็นห้องแถวให้ท่านพัก บอกลูกหลานไว้ด้วยว่าอยากปัญญาดีมั๊ย ขัดส้วมรับรองปัญญาดีทุกคน ไม่ใช่เรื่องโกหก อาตมาไปซื้อบานประตูหน้าต่างจากกำแพงเพชร ไปเจอเด็กคนหนึ่ง บอกหลวงพ่อหลานคนนี้หัวไม่เอาไหนเลย สอบตกอยู่เรื่อยอยากจะเรียนหนังสือ ทำไงจะมีปัญญา  บอกว่ามาบวชเณรที่นี่ พอบวชแล้วเณรขัดส้วม บอกผมอยู่ที่บ้านไม่เคยขัด ตื่น ๘​โมงเช้า ใครหาข้าวให้กิน บอกแม่ ก็ขัดส้วมขัดไปขัดมาก็รักความสะอาด อยู่มาได้หน่อยสึกแล้วไปเรียนหนังสือต่อ เรียนไปเรียนมากลายเป็นผู้พิพากษาไป สอบได้ที่หนึ่งเลย นี่ขัดส้วม.......


https://www.amphawan.net/กฎแห่งกรรม-เล่ม-๑/หญิงสองร่างนางสองชาติ/





           



           https://www.youtube.com/watch?v=rlSk9cg0ul0




https://www.youtube.com/watch?v=1NknNMnNKWw





https://www.amphawan.net/สื่อธรรมะ/หนังสือกฎแห่งกรรม/

หนังสือธรรมะโดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม    รวบรวมหลักธรรมคำสอน หลักการปฏิบัติธรรม และกฏแห่งกรรมจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติ