หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

บทสวดพระคาถา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม


                              บทสวดพระคาถา  ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม🙏🙏🙏


พิธีไหว้พระและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

           ก่อนเข้าห้องบูชาพระ ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ ๓ หน แล้วสงบจิตระลึกถึงคุณบิดา มารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อนแล้วจุดเล่มด้านซ้าย ต่อไปจุดธูป ๓ ดอก เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้ว เอาจิต(นึกเห็น) พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่งคุกเข่าประนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า และนมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก จะเพิ่มความขลังและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต พึงทราบด้วยว่า การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ ขออย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตนเอง

                                                        🌺🌼🍀🌷🍀🌼🌺





                                        ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ฉบับเดิม

๑. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะ โส ภะคะวา.

อะระหันตัง สะระนัง คัจฉามิ.
อะระหันตัง สิระสา นะมามิ.
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ.

วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ.
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ.

สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ.
สุคะตัง สิระสา นะมามิ.
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ.
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ.

๒. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะ มะนุสสานัง วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.

อะนุตตะรัง สะระนัง คัจฉามิ.
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ.
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ.
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ.
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
พุทธัง สิระสา นะมามิ.

๓. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.

๔. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อาโป ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เตโช ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วาโย ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.

๕. อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ยามา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อรูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.

๖. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.

๗. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.

๘. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.

๙. กุสะลาธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชมภูทีปัญจะ อิสสะโร กุสะลาธัมมา นะโม พุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ ปัญจะพุทธา นะมามิหัง อาปามะจุปะ ทีมะ สังอังขุ สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะสะเห ปาสายะโส ฯ

โสโส สะสะ อะอะอะอะ นิ เตชะ สุเนมะ ภูจะนาวิเว อะสังวิสุโลปุสะพุภะ อิสะวาสุ, สุสะวาอิ, กุสะลาธัมมา จิตติ วิอัตถิ.

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยะวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิ ปัญจะ อิสสะโร ธัมมา.

กุสะลาธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.


๑๐. จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะ ชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ตะวะติงสา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นันทะ ปัญจะสุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ยามา อิสสะโร กุสะลาธัมมา พรหมา สัททะ ปัญจะสัตตะ สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมาะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ตุสิตา อิสสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

พรหมา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวาะตา ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ

๑๑. นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ พุทธิลาโลกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.

อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมสาวัง มะหาพรหมสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มะหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ.

สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิ กัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญา นิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

๑๒. นะโมพุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิ โส ภะคะวา.

นะโมธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโมสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม.

นะโมสังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง.

นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโย โมนะ อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะอะวันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ฯ

                                                         🙏🙏🙏

                                 อานิสงส์การสวดและภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก

           ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้สำหรับสวดและภาวนาทุกเช้าค่ำ เพื่อความสวัสดีเป็นศิริมงคลแก่ผู้สาธยายอันเป็นบ่อเกิด มหาเตชัง มีเดชมาก มหานุภาวัง มีอานุภาพมาก และมีลาภยศสุขสรรเสริญ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย อุปัทวันตราย และความพินาศทั้งปวง ตลอดทั้งหมู่มารร้าย และศัตรูคู่อาฆาตไม่อาจแผ้วพาลได้

           อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง เป็นต้น ถ้าสาธยายหรือภาวนาแล้วจะนำมาซึ่งลาภยศ สุขสรรเสริญและปราศจากอันตรายทั้งปวง ตลอดทั้งเป็นการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เป็นการเจริญพระพุทธานุสสติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นแดนเกิดของสมาธิอีกด้วย

           อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว เป็นการมอบกายถวายชีวิตไว้กับองค์พระพุทธเจ้า หรือเอาองค์พระพุทธเจ้าเป็นตาข่ายเพชร คอยปกป้องคุ้มครองรักษาชีวิตให้ปราศจากเวรภัย

          อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว ขออาราธราบารมีธรรมของพระพุทธองค์สิงสถิตในเบญจขันธ์ของเรา เพื่อให้เกิดพระไตรลักษณาญาณ อันเป็นทางของนิพพานสืบต่อไป

          อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีสะมาธิญาณะสัมปันโน เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนา ขออำนาจสมาธิญาณของพระพุทธองค์เป็นไปในธาตุ ในจักรวาล ในเทวโลก หรือในกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และในโลกุตตรภูมิ ขอจงมาบังเกิดในขันธสันดานของข้าพเจ้า หรือเรียกว่าเป็นการเจริญสมถภาวนา อันเป็นบ่อเกิดเแห่งรูปฌาน อรูปฌาน อภิญญา เป็นการเจริญวิปัสสนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งมรรค ผล นิพพาน เป็นการหลุดพ้นจากกิเสสทั้งปวง ฯ

          กุสะลาธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา เป็นต้น เป็นการสาธยายหัวใจพระวินัยปิฏก หัวใจพระสุตตันตปิฎก หัวใจพระอภิธรรมปิฎก และเป็นหัวใจ พระพุทธเจ้า ๕๐๐ ชาติ พระพุทธเจ้า ๑๐ ชาติ และหัวใจ อิติปิโส ตลอดทั้งหัวใจอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เมื่อภาวนาแล้วจะนำลาภ ยศฐาบรรดาศักดิ์ ทั้งอายุ วรรณะ สุขะ พละ และจะป้องกันสรรพภัย ต่างๆ เพื่อให้เกิดความสวัสดิ์มงคลแก่ตนและบุตรหลานสืบไป

           อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาเสร็จ มีทั้งอำนาจ ตบะ เดชะ ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองทุกประการ

           พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายต่างก็กล่าวเน้นว่า พระพุทธศาสนาเป็นของจริงของแท้ ที่เรายึดมั่นเป็นหลักชัยแห่งชีวิตได้ ยิ่งมีการปฏิบัติธรรม ทั้งทาน ศีล ภาวนา สม่ำเสมอ ความสุข ความเจริญเกิดขึ้นแก่ตนแน่อย่าสงสัย การรวยทรัพย์สินเงินทองไม่ได้ก่ออานิสงส์ไม่เท่ากับรวยบุญรวยกุศล ซึ่งจะบังเกิดความสุขความเจริญในปัจจุบัน และตามติดวิญญาณไปทุกภพทุกชาติด้วย

           ฉะนั้น ชาวพุทธทั้งหลาย จงเจริญภาวนา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกทุกเช้าค่ำเถิด จะบังเกิดความสวัสดิ์มงคลแก่ตนเองและครอบครัยว ให้มีความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วหน้า


                                                    
                                                           🌺🌼🍀🌷🍀🌼🌺


ขอน้อมกราบนมัสการ คุณพระศรีรัตนตรัย ด้วยความเคารพและศรัทธา เจ้าค่ะ 🙏🙏🙏
ขอน้อมกราบขอบพระคุณ คณะผู้จัดสร้างหนังสือสวดมนต์ ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร  ขอน้อมกราบอนุโมทนาสาธุ และสำนึกในพระคุณ ด้วยจิตศรัทธา เจ้าค่ะ🙏🙏🙏




























https://th.wikipedia.org/wiki/วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร#/media/ไฟล์:Phra_Prathan_Yim_Rub_Fa_(II).jpg