หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563

สวดมนต์ คาถามหาเมตตาใหญ่ (เมตตาพรหมวิหาร)















พิกุลเทพสถิต 
โดยหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

มีแม่ชีคนหนึ่ง ชื่อ แม่ชีก้อนทอง นามสกุล ปานเณร แม่ชีคนนี้เคยไปอยู่มาหลายสำนัก ไปอยู่สำนักปฏิบัติของ หลวงพ่ออ่อน ที่สิงห์บุรี ไปอยู่ที่เขาถ้ำตะโก วันหนึ่งก็มาขออาตมาว่า "พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ดิฉันจะขอมาอยู่นั่งกรรมฐานได้ไหม"   "เอ...โยม วัดนี้ไม่มีสำนักชี แล้วไม่มีกุฏิชีอยู่ จะอยู่ได้หรือ กลัวผีหรือเปล่า ถ้าไม่กลัว อยู่บนศาลา มันมีห้องอยู่ทางนี้"




สมัยนั้นมันเป็นป่าดงพงไพรมาก แม่ชีผู้นี้อายุก็ประมาณ ๗๐ กว่า ตอนตายก็อายุ ๙๖-๙๗ เพิ่งจะเสียไปเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง อาตมาก็ให้อยู่บนศาลา พออยู่บนศาลาก็ให้เดินจงกรม เดินจงกรมแล้วก็นั่ง พองหนอยุบหนอแล้วตั้งสติเข้าไว้
๑ เดือนผ่านไป โยมชีก็ให้อาตมาสอบอารมณ์ให้ทุกวัน ตอนเช้าอาตมาก็ไปสอบอารมณ์ให้ แม่ชีเล่าให้อาตมาฟังว่า "หลวงพ่อฉันจะลำบากเสียแล้ว เทวดามากวน" "เทวดามาทำไม" "มาชวนฉันสวดมนต์"
อาตมาก็ให้กำหนดเห็นหนอ พอมาอีกคืนหนึ่ง แม่ชีก็เล่าว่ากำหนดเห็นหนอๆ แต่เทวดาไม่ไป ไม่ยอมไป อาตมาถามว่า "เทวดาอยู่ที่ไหน ถามเทวดาซิ" "เทวดาบอกว่าอยู่ที่ต้นพิกุล" "เอ...มาอยู่ได้อย่างไรที่ต้นพิกุล เชื่อไม่ได้" "ถามเทวดาทำไมมาอยู่ที่ต้นพิกุลนี่" เทวดาก็บอกว่า "โดนสาปมาจากสรวงสวรรค์ ผิดประเวณีนางฟ้า" เทวดาโดนสาปแล้วให้มาอยู่ที่ต้นพิกุลนี้ ๑๐๐ ปี ตรงกับวันที่เท่านั้นเวลา ๙.๔๕ น. ครบ ๑๐๐ ปี อาตมาก็จดไว้ "เทวดามาชวนสวดมนต์ตอนไหน" "ตี ๑๒.๐๑ นาที"
เทวดาจะมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า อาตมาได้ตำราเยอะเลยจากเทวดา นี่ถ้าบ้านไหนมีเครื่องสักการบูชาพระพุทธรูปเปรียบเสมือนประติมากรรม แทนองค์พระพุทธเจ้าแล้ว ถ้าหากว่าตั้งไว้เฉยๆ เทวดาไม่สถิต ถ้าหากว่าสวดมนต์ไหว้พระอยู่ตลอดเวลา เทวดาก็จะมาสถิต เรียกว่า เทพสถิต 
เทวดาบอกว่าหลวงพ่อโสธรนี่  เทพมาสถิต จึงขลังมาก แล้วพระพุทธรูปที่เสาชิงช้านี่ เอามาตั้งและสวดมนต์ทุกวันก็ยังสถิตเลย เทวาดาเค้าบอกว่าจะมาเฝ้าพระพุทธเจ้าตอน ๒๔ นาฬิกา แล้วทีนี้เราไปเช่าพระอู่ทองเชียงแสนมาเป็นตุ๊กตา ราคาหลายแสน ถึงเป็นของเก่าก็จริง เจ้าของไม่นำพา ไม่สวดมนต์ และบ้านนั้นเอาลูกเด็กเล็กแดงมานอนหน้าพระ เทวดาบอกหนีหมด ไม่สวดมนต์ให้ บางบ้านทำห้องพระไว้นอนกันเต็มหมด เทวดาไม่มาสถิต ไม่มาสวดมนต์ อาตมานึกว่าคงไม่มีจริง แต่มันเกิดมีจริงขึ้นมาแล้ว อาตมาก็จดไว้เดี๋ยวนี้ยังจดไว้พร้อม
แล้วบอกแม่ชีให้ถามเทวดาซิ มาอยู่ที่ต้นพิกุลนี่ลำบากลำบนแค่ไหน บอกไปเที่ยวสวดมนต์นี่ มาสวดเฉพาะแม่ชีหรือเปล่า เทวดาบอกทั่วไป บ้านไหนสวดมนต์ไหว้พระนะ เอาใจใส่สวดมนต์ดีทั้งครอบครัว บ้านนั้นจะมีเทวดาเข้าไปสวดมนต์ สวดอะไร "มหาเมตตาใหญ่" บทใหญ่เลย อาตมาได้แต่บทสั้น ไม่ใช่บทยาว เทวดามาชวนสวด ๑ ปี แม่ชีก้อนทองนี้อ่านหนังสือไม่ออก สวดได้หมดเลย เทวดาก็มาบอกแม่ชี บอกกราบเรียนหลวงพ่อวัดนี้ด้วย บอกเทวดาอยู่ต้นพิกุล นี่ผิดประเวณีนางฟ้านะ  เอ...เรานึกว่าเทวดาจะไม่โดนทำโทษ โดนนะ เทวดามี ๒ อย่างคือ เทวดาพาล กับเทวดาตรง เทวดาพาลเป็นพวกชอบกินของสังเวย เวลาโจรจะปล้น จะต้องมีบวงสรวงมีหัวหมูไป เทวดาพวกนี้ชอบเข้าข้างพวกโจร เลยอาตมาถามว่าพวกโจรจะปล้นจะทำไง ต้องบวงสรวงนะ มีหัวหมู บายศรี เทวดาก็ส่งทิพยเนตร ไอ้พวกเทวดาพาลก็ว่าพวกเราไปซะหน่อย ไปกินเครื่องสังเวยอย่างนี้ก็มี เทวดายังมีแบบนี้แล้วโลกมนุษย์ทำไมจะไม่มีแบบนี้ มันต้องมี เทวดาตรงไม่กินของใคร เทวดาบอกกับแม่ชีทองก้อนอย่างนี้
ใกล้จะตี ๑๒ อาตมาก็ย่องไปที่ใต้ถุนศาลา ส้วมบนนั้นไม่มี มีแต่อยู่ห่างไกล กลัวแกจะปัสสาวะรด เราจะ  ตาย เราก็ย่องไป พอดี ๑๒.๐๑ น. แกจุดไม้ขีดแล้วจุดธูปเทียน สวดมนต์เมตตาจริง เทวดาสวด ฟังอยู่เป็นชั่วโมง เทวดาสวดมหาเมตตาใหญ่ จำไว้สวดให้เมตตาประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ถ้าเทวดาพาลไม่สวดบทนี้ เลยให้ถามเทวดาว่าจะกลับจากต้นพิกุลเมื่อไร เทวดาก็บอกว่าพอครบ ๑๐๐ ปี ก็จะกลับ อาตมาจดไว้หมด ดูซิว่า ต้นพิกุลจะเกิดอะไรขึ้นมา เทวดาบอกว่า ถ้าบ้านใครนะ มีเครื่องบูชาพระพุทธรูป สวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำเทวดาจะไปสิงสถิต
อาตมามีตัวอย่างจะเล่าให้ฟัง มีคุณยายคนหนึ่ง ชื่อแม่นาค อายุ ๘๐ กว่า ตายไปนานแล้ว สมัยเรายังเป็นเด็ก แกเป็นคนจีน อาตมาชอบไปกินขนมเข่งที่เขาไหว้เจ้ากันที่บ้านนั้น ยายนาคคนนั้นก็บอกว่า "ไอ้
หนูเอ๋ย พระอั๊วพูดได้ว่ะ"... "อาม้า พระองค์ไหนพูดได้ ให้พูดซิ" "มันไม่พูดเดี๋ยวนี้ว่ะ" "มันพูดตอนไหน" มันพูดกลางคืนว่ะ" แล้วบ้านนี้ไม่มีรั้วเลยนะ มีเรือหม้ออยู่ ๒ ลำ เรือใส่ฟืนสำหรับโยงเรือให้เรือข้าม บ้านนี้มี ๓ ลำ แล้วมีพระสมเด็จวัดระฆัง บ้านนี้จอดเรือโยงหน้าวัดระฆัง ได้พระสมเด็จโตมาเยอะเชียว พอบ่าย ๓ โมง ก็จุดธูปแล้ว คนไทยขี้เกียจบูชาไม่ค่อยรวย เจ็กรวย พอบ่าย ๓ โมงสวดเลย เราเลยบอกว่าอาม้า"พระอาม้าพูดได้ตอนไหน" "มันพูดกลางคืนไม่พูดกลางวัน" "ทำไมพูดกลางคืนล่ะ" "เวลาขโมยเข้ามามันพูดว่ะ" มันสวดมนต์อั๊วตื่นหมด ขโมยเอาอะไรไปไม่ได้ มันเป็นเทวดา ก็ได้ความอย่างนี้
ในเวลากาลต่อมา แม่ชีก้อนทองสวดมนต์ อาตมาก็ถามสวดยังไง สวดอย่างนี้ อาตมาไม่แน่ใจ ก็ไปซื้อตำรา ถามที่เสาชิงช้าว่า มหาเมตตาใหญ่มีไหม บอกว่าไม่มี อาตมาเลยเข้าไปที่วัดสุทัศน์ฯ ไปหาพระครูปลัด เดี่ยวนี้เป็นเจ้าคุณไปแล้ว เจ้าคุณอะไรจำไม่ได้เสียแล้ว เป็นพระครูปลัดของ สมเด็จพุฒาจารย์ องค์เก่า (พุฒาจารย์โสม) บอกขอยืมหนังสือพุทธาภิเษก ฉบับ สมเด็จพระสังฆราชแพ จะเอาไปสอบขอยืมวันเดียวครับ เดี๊ยวเสร็จผมจะมาส่ง เลยให้แม่ชีก้อนทองว่า ให้ฟัง ๓ ชั่วโมง จบ ๓ ชั่วโมง ต่อท้าย
มหาพุทธาภิเษกตัวเดียวไม่ผิดเลย อันนี้เชื่อได้ ๘๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว
เมื่อก่อนนี้แกอ่านหนังสือไม่ออก แล้วจะไปท่องได้อย่างไร อาตมายังไม่ได้บทนี้นะ เทวดาสวดบทมหาเมตตาใหญ่ แผ่เมตตา อาตมาจำได้แม่นยำ แล้วรู้ด้วยว่าเทวดาสิงไม่สิง มีเคล็ดลับ เทวดายังบอกอีก บอกคนเรามีเทวดาประจำวันเกิดทุกคน เทวดาวันเกิดออกไปเมื่อไรนะ เทวดาใหม่ยังไม่มา มักจะตาย เห็นหนอมันบอก อาตมาจับได้หลายคนแล้ว บางคนเงาหัวไม่มี ตายแน่ ตายทุกราย เพราะว่าเทวดาเราย้ายไป หากเทวดาองค์ใหม่ยังไม่มาประจำ ให้ระวังนะ ช่วงจังหวะนั้นระวังนะ มีพระ ๑๐๐ องค์คล้องคอก็ต้องตาย มีเคล็ดลับอันนี้แนะแนวไว้ก่อน มันมีวิธีพิสูจน์ว่า คนนี่มีเทวดารักษาไหม บางท่านไม่ได้คล้องพระเลยปืนยิงไม่ออกนะ ถ้าหากมีคล้องพระไว้โป้งเดียวตายก็มีนะ เทวดาไม่ได้รักษา เทวดาวันเกิดนี่มีทุกคนนะ เห็นหนอบอกได้แต่ยังไม่บอกต้องแนะแนว อันนี้เรื่องจริง
แล้วเวลากาลต่อมา แม่ชีก้อนทองยังมีเกร็ดพิเศษอีกหลายอย่าง เทวดาบอกไว้ว่าอยากคุยกับเทวดาให้สวดบทเมตตาใหญ่นี้ แล้ววันหนึ่งใกล้วันที่ สมเด็จพระสังฆราช จะเสด็จ ประชุมพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร วัดพัฒนาตัวอย่างก็เหลืออีก ๑๐ กว่าวันเท่านั้น ก็จะเสด็จแล้ว ๙.๔๕ น. ตอนเช้า อาตมายังอยู่ที่กุฏิ คนเคยมาช่วยทำงานที่นี่อยู่ใต้ต้นพิกุลทั้งนั้น กำลังจะมาปลูกปะรำ เอาผ้าใบขึง ต้นพิกุลเทพสถิตต้นนั้นโค่นสนั่นหวั่นไหว ไม่มีลมเลย ตอนเช้า ๙.๔๕ น.
อาตมาก็เปิดสมุดบันทึกครบ ๑๐๐ ปีพอดี ต้นพิกุลสูงมาก ล้มลงไปที่โบสถ์ คิดว่าโบสถ์ต้องพังแน่ แต่ไปถึงใกล้หลังคาโบสถ์เกิดล้มไปทางอื่น เทวดาช่วยผลักไม้ทางอื่น ไม่งั้นต้องช่วยเราสร้างอีก เทวดาต้องเสียเงินให้เรา เทวดากลัวเสียเงินเลยช่วยผลักไปทางอื่น ให้รั้วกำแพงแก้วพังไปแค่นั้น ไม่งั้นอาตมาจะไปฟ้องพระอินทร์ให้เทวดามาช่วยสร้างโบสถ์อยากมาทำไม เทวดากลัวเหมือนกันนะ
เราก็เลยอ่อนใจ ตายจริงขวางทางรถพระประเทียบต้องเข้าทางนี้ พระเณรช่วยกันเลื่อยก็ไม่ค่อยเข้า ไม้พิกุลเลื่อยยาก เลื่อยเป็นท่อนๆ เดี๊ยวนี้หายกันหมดแล้ว มันเกิดศักดิ์สิทธิ์เขาว่าโคนยังอยู่ เอาไปทำยาได้ใครมาก็ลักเอาไปๆ เลยเอาไปเรียงไว้ข้างศาลา เทวดายังบอกอีกว่าที่นี่จะเกิดอะไรขึ้นมา ก็จริงตามที่เทวดาบอก ๑. อะไร ๒.อะไร เกิดหมดแล้ว ในวัดจะต้องเป็นอย่างนี้ ๑-๒-๓-๔ แล้วตรงนี้จะเกิดหอประชุมขึ้นมาจริง จด มันเรื่องจริงทั้งหมด
ต่อมาแม่ชีก้อนทองก็มีสำนักขึ้น ก็ให้แถลงจากศาลา สร้างสำนักให้อยู่ อีกวันหนึ่งอาตมาจะต้องไปเชียงราย ออกตี ๑ ไม่ได้บอกแกหรอก แกแก่แล้ว อาตมาก็ไปตี ๑ กะไปฉันเพลที่เชียงราย พอตี ๑ ก็ออกจากที่วัด ถึงเชียงรายประมาณ ๙ โมงเช้า พอตอนเช้ามีชีเด็กๆ ก็บอกจะมาลาอาตมา แม่ชีก้อนทองบอกไม่ต้องไปลา หลวงพ่อไปตั้งแต่เมื่อคืนตี ๑ แล้ว ยายรู้ได้ไง เทวดาบอกข้า มีประโยชน์เห็นไหม แล้วทีนี้อาตมาไปจะไปค้างเชียงรายสัก ๓ คืน พอไปค้างได้คืนเดียวนึกถึงงานวัดได้ต้องกลับก่อน พอกลับมาถึงนี่ก็ดึกแล้ว พอตอนเช้าแม่ชีก้อนทองบอกกับแม่ชีอีกว่า หลวงพ่อมาตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว จะไปลาก็ไปซะ ยายรู้ได้ไง เทวดาบอก คุยกับเทวดาได้ก็ดีเหมือนกัน อย่าไปพูดคนเดียวนะ คนอื่นเขาจะว่าเอา ก็ลำบากเหมือนกัน อันนี้หมายถึงเทวดา
อาตมาได้ความรู้ก็สรุปได้ว่า พุทธกิจ ๕ ประการ* เป็นความจริงยังใช้ได้ เทวดาก็จะไปสวดมนต์ตามบ้านเวลาตี ๑๒ แน่นอน เทวดายังบอกต่อไปว่า บ้านไหนเครื่องบูชาพระไม่สะอาด แล้วหน้าโต๊ะหมู่พระ คนนอนแกะกะอยู่ เทวดาจะไม่เข้าไปในนั้นแน่นอน บ้านไหนหมั่นสวดมนต์ เทวดาจะสวดมนต์ให้พรทุกคืน

*พุทธกิจ ๕ ประการ (งานของพระพุทธเจ้าประจำวัน)
๑. เช้าโปรดสัตว์ บิณฑบาต
๒.เย็นทรงแสดงธรรมโปรดมหาชน
๓.ค่ำโอวาทสั่งสอนพระภิกษุสงฆ์
๔.เที่ยงคืน แก้ปัญหาเทวดา
๕.ใกล้รุ่ง ตรวจดูอุปนิสัยเวไนยสัตว์ที่จะเสด็จไปโปรดในวันใหม่  



                                                ต้นกำเนิดของคาถามหาเมตตาใหญ่

คาถามหาเมตตาใหญ่นี้ เป็นบทบันทึกเรื่องราว และบทพระธรรมเทศนาที่สำคัญตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ซึ่งถูกจารึกไว้ในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ ชื่อ "เมตตากถา" มีเนื้อความโดยย่อว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับ ณ. วัดพระเชตวันมหาวิหาร ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างถวาย ครั้งนั้นได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายให้ประชุมกันแล้วตรัสพระธรรมเทศนาโปรด พระธรรมเทศนาที่ยกขึ้นแสดงในครั้งนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเจริญเมตตากรรมฐาน โดยในเบื้องต้นทรงแสดงอานิสงส์ แห่งการแผ่เมตตาว่า ผู้เจริญเมตตาจะได้รับอานิสงส์มากมายถึง ๑๑ ประการ จากนั้นจึงทรงจำแนกการแผ่เมตตาออกเป็น ๓ ประเภท คือ
               ๑) การแผ่ไปโดยไม่เจาะจงผู้รับ
               ๒) การแผ่ไปโดยเจาะจงผู้รับ
               ๓) การแผ่เมตตาไปในทิศทั้ง ๑๐
จากนั้นจึงทรงแสดงคำแผ่เมตตาแต่ละประเภทโดยละเอียด และทรงเน้นย้ำให้ภิกษุจดจำนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
      ความพิเศษของคาถามหาเมตตาใหญ่นี้ก็คือ เป็นพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่มีเหตุให้ต้องแสดง เช่น ไม่มีผู้คุย หรือสนทนาเกี่ยวกับการแผ่เมตตา ไม่มีผู้ทูลถามเป็นต้น เพราะพระพุทธองค์จะต้องมีเหตุการณ์ให้ต้องแสดง การที่ทรงยกขึ้นแสดงเองเช่นนี้ ย่อมเป็นพระธรรมเทศนาที่ทรงให้ความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อนึ่ง บทแผ่เมตตานี้ เป็นบทแผ่เมตตาที่ยาวที่สุดในบรรดาบทแผ่เมตตาอื่นๆ จึงได้ชื่อว่า มหาเมตตาใหญ่
                อานิสงส์ของการเจริญคาถามหาเมตตาใหญ่
อานิสงส์ของการแผ่เมตตา พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ๑๑ ประการคือ
๑. หลับเป็นสุข คือนอนหลับสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน พลิกตัวไปมา
๒. ตื่นเป็นสุข คือตื่นมาจิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่ง ไม่เซื่องซึม มึนหัว
๓. ไม่ฝันร้าย คือฝันดี ฝันเห็นแต่สิ่งที่เป็นมงคล สิ่งที่ดีงาม
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ คือมีมนุษยสัมพันธ์ดี จิตใจเบิกบาน ไม่โกรธง่าย มีเสน่ห์น่าเข้าใกล้
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ เป็นที่รักของสัตว์ดิรัจฉาน ภูตผีปีศาจ
๖.เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา เทวดาช่วยเหลือบันดาลให้สมหวังในสิ่งที่ต้องการ และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นให้ถอยห่าง
๗. ไฟ ยาพิษ ศัศตรา ไม่อาจทำร้ายได้
๘. เมื่อทำสมาธิ จิตจะสงบเร็ว
๙. ใบหน้าผ่องใส
๑๐. ไม่หลงตาย คือเมื่อถึงเวลาที่จะต้องตายก็ตายด้วยอาการสงบ มีสติ ไม่บ่นเพ้อ คร่ำครวญ ดิ้นทุรนทุราย
๑๑. ยังไม่บรรลุธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก ธรรมเบื้องสูงในที่นี้ได้แก่ โลกุตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ผู้ที่เจริญเมตตาถ้ายังไม่บรรลุธรรม ๙ อย่างนี้ และสามารถเจริญเมตตากรรมฐานนี้จนจิตเป็นสมาธิเข้าถึงฌานขั้นใดขั้นหนึ่งและเสียชีวิตลงขณะเข้าฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง และเสียชีวิตลงขณะเข้าฌานก็จะไปบังเกิดในพรหมโลกทันที 
พรหมโลก อยู่สูงขึ้นไปจากสวรรค์ชั้นที่ ๖ เป็นชั้นซ้อนๆ กันขึ้นไป แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ๆ คือ รูปพรหม ๑๖ ชั้น และอรปพรหม ๔ ชั้น คำว่า พรหม ท่านแปล่า เจริญ รุ่งเรือง หมายความว่า เจริญรุ่งเรืองด้วยคุณวิเศษมีฌาน เป็นต้น 

                                       ทิศทั้ง ๑๐
ปุรัตถิมายะ คือทิศบูรพา หรือทิศตะวันออก→
ปัจฉิมายะ คือทิศประจิม หรือทิศตะวันตก  ←
อุตตะรายะ คือทิศอุดร หรือทิศเหนือ  ↑
ทักขิณายะ คือทิศทักษิณ หรือทิศใต้  ↓
ปุรัตถิมายะ คือทิศอาคเนย์ หรือทิศตะวันออกเฉียงใต้  ↘
ปัจฉิมายะ คือทิศพายัพ หรือทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ    ↖
อุตตะรายะ คือทิศอิสาน หรือทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ  ↗
ทักขิณายะ คือทิศหรดี หรือทิศ ตะวันตกเฉียงใต้           ↙
เหฏฐิมายะ คือทิศเบื้องล่าง
อุปะริมายะ คือทิศเบื้องบน



         บทกราบพระรัตนตรัย
             🙏🙏🙏
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ.(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ (กราบ)

      บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

       บทไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
   ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
   ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
   ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยังปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                                              
       บทสรรเสริญพระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

      บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ

    บทสรรเสริญพระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต 
สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.

     บทแผ่เมตตาให้ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ,    ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ,        ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ,           ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ,   ปราศจากอุปสรรคอันตราย และความเบียดเบียนทั้งปวง             
อะนีโฆ โหมิ,             ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ.  มีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนอยู่เถิดฯ
                       
                บทคาถามหาเมตตาใหญ่

        เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง
        ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา
        กะตะเม เอกาทะสะ สุขัง สุปะติ สุขัง ปะฏิพุชฌะติ นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ มะนุสสานัง ปิโย โหติ, อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ เทวะตา รักขันติ นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ, ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ, มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ, อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมะโลกูปะโค โหติ
          เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเมเอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา
          อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ 
          กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ กะตีหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตตาเจโตวิมุตติ
          ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ทะสะหาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
           กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ 
๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ อัตตะภาวะปาริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ
           
อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

          กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
๑) สัพพา อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพเพ มนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพ  วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

          อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
      
         ๑. แผ่ให้สัตว์ในทิศทั้ง ๑๐

       กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

              ๒. แผ่ให้ปาณชาติ ในทิศทั้ง ๑๐

๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

            ๓. แผ่ให้ภูต ในทิศทั้ง ๑๐

๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

            ๔. แผ่ให้บุคคลในทิศทั้ง ๑๐

๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ  ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ  ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

           ๕. แผ่ให้ผู้มีอัตภาพ ในทิศทั้ง ๑๐

๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา 
อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา 
อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา 
อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา 
อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

          ๖. แผ่ให้เพศหญิงในทิศทั้ง ๑๐

๑) สัพพา ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพพา ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพพา อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพพา ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพพา ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา
 อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพพา ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา 
อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพพา อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา 
อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพพา ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา 
อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพพา เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพพา อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

          ๗. แผ่ให้เพศชายในทิศทั้ง ๑๐

๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา 
อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

           ๘. แผ่ให้ผู้เป็นพระอริยะ ในทิศทั้ง ๑๐

๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ  อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

           ๙. แผ่ให้ผู้ที่ไม่ใช่พระอริยะ ในทิศทั้ง ๑๐

๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓)  สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ  อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ 
          
                 ๑๐. แผ่ให้เทวดาในทิศทั้ง ๑๐

๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ  เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ  เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

            ๑๑. แผ่ให้มนุษย์ในทิศทั้ง ๑๐

๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ  มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

          ๑๒. แผ่ให้สัตว์วินิบาตในทิศทั้ง ๑๐

๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพ  ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ
         อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

         สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ,สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ, ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ, วิเหสัง วัชเชตวา อะวิเหสายะ, สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน, สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน, สุขิตัตตา โหนตุมา ทุกขิตัตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตา
          ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโต สัพพะพยาปาทะ ปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ วิมุตติ เมตตา จะ เจโต วิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ (เมตตา พรหมมะวิหาระ ภะวะนา นิฏฐิตา)

อธิษฐานจิต อโหสิกรรมแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล

อธิษฐานจิต อโหสิกรรม แผ่เมตตา

และอุทิศส่วนกุศล ทำตอนไหน


เดินจงกรม แล้วนั่งสมาธิ เสร็จแล้วอธิษฐานจิต เวลาอธิษฐานจะแผ่เมตตาอย่าทำขณะกำลังนั่งสมาธิ เวลาส่ง (อุทิศส่วนกุศล) ก็เช่นกัน ต้องทำให้เสร็จกิจก่อน ทำให้งานเสร็จก่อน เราจะเดินจงกรม ๑ ชั่วโมง นั่ง ๑ ชั่วโมง เสร็จกิจในการภาวนาก่อน แล้วค่อยแผ่เมตตา โดยอโหสิกรรม ทำให้จิตใจสบายเบิกบาน แล้วแผ่ได้เลย อุทิศตอนหลัง ไม่ใช่นั่งสมาธิด้วย แผ่ไปด้วย จะไม่ได้รับ

อธิษฐานจิต อโหสิกรรม แผ่เมตตา

และอุทิศส่วนกุศล วางจิตอย่างไร

อธิษฐานจิต หมายความว่า ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ที่ลิ้นปี่ (ลิ้นปี่ จะอยู่ครึ่งทางระหว่างจมูกถึงสะดือ) สำรวมกาย วาจา จิตตั้งให้มั่นแล้ว จึงแผ่เมตตาไว้ในใจ…
อโหสิกรรม (ลิ้นปี่) ทำใจให้เป็นเมตตาบริสุทธิ์ก่อน ไม่อิจฉา ริษยา ไม่ผูกพยาบาทใครไว้ในใจ ทำใจให้แจ่มใส ทำใจสบาย คือเมตตาแล้วเราจะอุทิศให้ใครก็บอกกันไป มันจะมีพลังสูงสามารถอุทิศให้ คุณพ่อคุณแม่ของเราที่กำลังป่วยไข้ให้หายจากโรคได้…หายใจยาวๆ ตั้งกัลยาณจิตไว้ที่ลิ้นปี่ ไม่ใช่พูดส่งเดช จำนะที่ลิ้นปี่ เป็นการแผ่เมตตา จะอุทิศก็ยกจากลิ้นปี่ สู่หน้าผาก เรียกว่าอุณาโลมา ปจชายเต…

อธิษฐานจิต คืออะไร

อธิษฐานน่ะ เขาเรียกตั้งปณิธานในใจ คือ การอธิษฐานเหมือนโยมตั้งว่าจะนั่ง ๑ ชั่วโมง ถ้าไม่ได้ ๑ ชั่วโมงอย่าเลิก เสียอธิษฐาน ปณิธานในใจเสียล่ะก็ สัจจะจะหมดไป จะอธิษฐานอะไรไม่ขึ้น ขอฝากไว้ด้วยนะ อธิษฐานไม่ขึ้น ทำอย่างไรก็ไม่ขึ้น…
คำว่า “อธิษฐาน” ตัว ฐ ฐาน แปลว่าสร้างความดี อย่าละทิ้งหน้าที่การงานรับผิดชอบในตัวเอง นี้เรียกว่าอธิษฐาน คนที่ไม่รับผิดชอบ ละทิ้งการงานเสียไม่เรียกอธิษฐาน แปลผิด ไม่ใช่อธิษฐานว่าขอให้ลูกฉันดี ขอให้สามีฉันดี ขอให้ค้าขายได้กำไร อย่างนี้ไม่เรียกว่า อธิษฐาน แต่เรียกว่า “ขอ” ขอให้รวยแต่มันเหลือวิสัยที่จะเป็นไปได้ จะรวยหรือไม่รวยอยู่ที่ใจ ถ้ามีเมตตาปราณี อารีเอื้อเฟื้อ ขาดเหลือคอยดูกัน จะรวยอยู่ตรงนี้ รวยน้ำใจ “รวย” แปลว่า อิ่มเอิบหัวใจ ปิติยินดีในหัวใจ สบายอกสบายใจ ถึงเหนื่อยกายแต่ก็ไม่เหนื่อยใจ ตรงนี้ถึงจะเรียกว่าความดีมีอยู่ในจิตใจของตน ใจเราเท่านั้นที่รู้

การแผ่ส่วนกุศล และอุทิศส่วนกุศลต่างกัน

การอุทิศส่วนกุศล และการแผ่ส่วนกุศลไม่เหมือนกัน การแผ่ คือ การแพร่ขยายเป็นการเคลียร์พื้นที่ แผ่ส่วนบุญออกไป เรียกว่า สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เรียกว่าการแผ่แพร่ขยาย
แต่การอุทิศให้ เป็นการให้โดยเจาะจง ถ้าเราจะให้ตัวเองไม่ต้องบอก ไม่ต้องบอกว่าขอให้ข้าพเจ้ารวย ขอให้ข้าพเจ้าดี ขอให้ข้าพเจ้าหนดหนี้ทำบุญก็รวยเอง เราเป็นคนทำ เราก็เป็นคนได้ และการให้บิดามารดานั้นก็ไม่ต้องออกชื่อแต่ประการใด ลูกทำดีมีปัญญาได้ถึงพ่อแม่ เพราะใกล้ตัวเรา พ่อแม่อยู่ในตัวเรา เราสร้างความดีมากเท่าไรจะถึงพ่อแม่มากเท่านั้น เรามีลูก ลูกเราดี ลูกมีปัญญา พ่อแม่ก็ชื่นใจโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบอก
คำว่า ญาตะกานัญจะ ได้แก่ ญาติทั้งหลาย ใครเป็นญาติของเราก็ได้รับ ญาติในอดีตชาติ ไม่ใช่ญาติในชาตินี้ก็ได้รับหากเรารู้จักกัน ถูกใจกัน พอใจกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน คุ้นเคยกัน เข้าใจกัน และช่วยกันได้อาศัยกันได้ อย่างนี้เรียก ญาตะกานัญจะ ญาติหลายๆ แห่งมารวมกัน
บางทีคนนี้ไม่ใช่ญาติในชาตินี้ แต่เราก็ไม่สามารถจะทราบได้ว่าเคยเป็นญาติมาหรือไม่ แต่เกิดพอใจกันจิตใจตรงกัน ก็เป็นญาติครั้งอดีตที่ผ่านมา แต่จากไปเป็นเวลานาน เพิ่งจะได้พบกันวันนี้ มันก็ลืม เลือนรางไปบ้าง ก็สามารถจะเป็นญาติได้ ดังนัยที่กล่าวมา ถ้าเคยเป็นสามีภรรยากันกี่ชาติแล้ว ก็สามารถเป็นไปได้ตามนัยดังกล่าวเช่นเดียวกัน

จะอุทิศ หรือ แผ่ส่วนกุศล ต้องมีทุนก่อน คือ มีบุญกุศล

คนเราเดี๋ยวนี้แผ่ไม่ค่อยออก เพราะจิตมันหด หมดอาลัยตายอยาก แล้วจะแผ่ได้อย่างไร คงจะแผ่กันไม่ได้ แต่ด้วยความริษยาผูกพยาบาทกัน ปราศจากเมตตาธรรมซึ่งเป็นคุณธรรมอย่างสูงของชาวพุทธ แต่ชาวพุทธ ไม่มีคุณธรรมเสียมากมาย เพราะขาดการปฏิบัติธรรมนั่นเอง การที่จะอุทิศ หรือแผ่ส่วนกุศลต้องเป็นอย่างนั้น จะต้องมีทุนก่อน คือมีบุญกุศล

จะช่วยคนไหน ให้เขาช่วยตัวเองก่อน

กรรมฐานนี่ดีที่สุด ไม่ต้องใช้คาถา เรานั่งกรรมฐานก่อน ยกจิต ให้เป็นกุศล มีเมตตา ไม่อิจฉาริษยาใคร หมดปัญหาไม่พอใจใคร แล้วแผ่ ออกไปตามชื่อนั้น ๆ หรือจะแผ่ทั่วไปก็ได้ ถ้าเขามีกุศลพอช่วยได้ ถ้าไม่มีกุศลก็ช่วยไม่ได้…
ถ้าโลภมากอยากได้ของเขาแล้ว แม้ไม่ได้ผล ถ้าเราไม่อยากได้ของใคร วางจิตให้เป็นกลาง ทําใจให้สบาย ทําจิตให้เป็นปกติมักจะได้…จะช่วยคนไหน ก็ให้เขาช่วยตัวเอง…ถ้าเขาช่วยตัวเองไม่ได้ คุณไปช่วยเขา คุณเสียเวลานะ คนช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่ต้องสนใจ แต่อย่างไรก็ออกไม่ได้…
อีกประการหนึ่ง คนนี้ช่วยได้แต่จิตเราไม่ดี จิตเราไม่เป็นกุศล กระแสไฟหมด จิตมันหดหมดอาลัยตายอยาก ช่วยเขาก็ไม่ได้ ขอฝากไว้ด้วยทุกคน
ทำความดี
ต้องให้เสมอต้นเสมอปลาย
จึงจะได้ดี
– หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

จะเอากําไรให้ใคร ต้องเอาทุนไว้ก่อน

เวลาจะเคลียร์พื้นที่โยมเดินจงกรมก่อน นั่งกรรมฐาน มีสติปัญญาดี ให้เสร็จก่อนแล้วค่อยแผ่ไป ไม่ใช่นั่งด้วยแผ่ด้วยใช้ไม่ได้ กําลังขายของ ยังไม่หมดรายการ จะเอากําไรไปให้ใคร เดี๋ยวจะขาดทุนไม่รู้ตัว เวลานั่ง กรรมฐานอย่าเพิ่งให้ สมมุติว่าหัวหน้าทีมเขาบอกว่า เดิน ๑ ชั่วโมง นั่ง ๑ ชั่วโมง แล้วเวลาออกจากกรรมฐานจิตมันว่าง กําลังมีพลังสูงส่งเลย แผ่เมตตาทันที จะอุทิศให้ใครก็อุทิศไป มันถึงจะมีพลัง
อาตมาเคยพบคนแก่อายุ ๑๐๐ กว่าปี มีคนเอากับข้าวมาให้ ก็สวดอิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ๑ จบให้ตัวเองก่อนสวดอีกจบหนึ่ง ให้คนที่นํามาให้ เสร็จแล้วให้ถ้วยคืนไป อาตมาจับเคล็ดลับได้ จะให้ใคร ต้องเอาทุนไว้ก่อน ถึงได้เรียกว่า สวดพุทธคุณเท่าอายุเกินหนึ่งไงเล่า

แผ่เมตตา ต้องมีเมตตาครบอย่างต่ำ ๘๐ % จึงจะได้ผล

การแผ่เมตตาจะต้องมีสมาธิก่อน มีพลังสูง มีเมตตาในตัวเองก่อน แล้วค่อยแต่อุทิศให้เขาจะได้ผล ถ้าโยมปราศจากเมตตาอย่าอุทิศ ไม่มีได้ผล ไม่ได้ผลจริง ๆ อาตมาทํามาแล้ว แผ่ได้ผลต้องมีเมตตาครบอย่างต่ำ ๘๐% ไม่มีอย่างนั้น แต่ไม่ออกหรอก เหมือนยิงปืนตกปากกระบอกไม่มีแรงส่ง ขาดสมาธิ ขาดสติปัญญา ขาดความสามารถ ขาดความเชี่ยวชาญในการฝึก
ต้องฝึกให้คุ้นเคยทุกวัน ไม่ใช่นั่งแล้วได้ทุกคน ไม่อย่างนั้น คนก็ไปสวรรค์นิพพานกันหมดน่ะซี คนต้องไปนรกบ้าง ไปนิพพานทุกคน ไม่ได้หรอก ไปสวรรค์ทุกคนก็ไม่ได้เพราะเครื่องไม่ครบ นิสัยไม่เหมือนกัน คนเราก็แตกต่างกันไปด้วย ความสุข ความทุกข์ ไม่เหมือนกันนะ

เวลาใครตายจะอุทิศส่วนกุศล ไม่มีอะไรดีเท่ากรรมฐาน

ขอฝากญาติโยมไว้ เวลาใครตายจะอุทิศส่วนกุศล ไม่มีอะไรดีเท่ากรรมฐาน อุทิศให้ได้ผลอย่างสมคาดปรารถนา จะได้รู้ว่าไปอยู่ที่ไหน… การที่ฆ่าตัวตาย ผูกคอตาย ญาติพี่น้องทำบุญให้ไม่ได้ผลแน่ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานแผ่ส่วนกุศลจึงจะได้รับผล ถ้าไปอยู่บนบนสวรรค์ เราทำบุญสังฆทานไป เขาก็รับอนุโมทนา แต่เขารับอาหารนี้ไม่ได้ เขากินอาหารทิพย์ ถ้าไปตกนรกโลกันต์ ขุนนรกที่ลึกมาก เราก็อุทิศให้ไม่ถึง ต้องเจริญกรรมฐาน ถึงจะได้ถึงนะ

การแก้กรรมที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือการเจริญกรรมฐาน

การแก้กรรมฐานที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือการที่ญาติโยมมานั่งเจริญกรรมฐานแล้วแผ่ส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ทุกท่านจะกลับร้ายกลายเป็นดี ลูกหลานจะมั่งมีศรีสุข จะประกอบอาชีพการงานก็จะมีเงินไหลนอง ทองไหลมา

บทแผ่เมตตา

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวร แก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

บทอุทิศส่วนกุศล (บทกรวดน้ำ)

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า
ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้าจงมีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า
ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า
ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้าจงมีความสุข
อิทัง สัพพะเทวานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข
“หายใจยาวๆ ตั้งกัลยาณจิตไว้ที่ลิ้นปี่ ไม่ใช่พูดส่งเดช”
“จำไว้นะที่ลิ้นปี่ เป็นการแผ่เมตตา”
“จะอุทิศก็ยกจากลิ้นปี่สู่หน้าผาก
เรียกว่า อุณาโลมา ปจชายเต…”
– หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
 https://www.amphawan.net/แก่นแท้แห่งพระกรรมฐาน/อธิษฐานจิต-อโหสิกรรม-แผ่/



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค เมตตากถา
[๕๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝัน ลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑ ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดาย่อม รักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกราย ๑ จิตของผู้เจริญเมตตาเป็น สมาธิได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑ ย่อมไม่หลงใหล กระทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ [๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร เมตตา เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ ฯ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วย อาการ ๕ นี้ ฯ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชน ทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตา เจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัศจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศ อีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็น สุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพ หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัศจิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ อาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการทำให้ เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรัก ชื่อว่าเจโต เพราะคิด ถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมี เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๗] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม เจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นพหุลี กรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริขาร ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อม เมตตาเจโตวิมุติดีแล้วด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความ บริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็น ความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็น ความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้ เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๘] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ด้วยมน- *สิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่ หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่ มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาย่อม ไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็น อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๙] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความ เร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญ เมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดี แล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อม ยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๐] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *ทิฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตาย่อมกำหนด โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งการงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *กัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตา ย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ ของเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา- *เจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรม ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วย องค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็น บริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยดีด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการ นี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพลีหุกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็น บริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็น สัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความ พ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดัง ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้วดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๑] เมตตาเจโตวิมุติ แผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่อง ด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏ- *ฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๒] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัศจิม ในทิศอุดร ในทิศ ทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึง ธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะหลุดพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็น อันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๓] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความ บีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วย อัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ในทิศปัศจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ หรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จง เป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมี ตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจาก พยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๘๔] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอวินิปาติก สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคอง ความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย วิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตา- *เจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อม ให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๕] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วย มนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธา พละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความ ประมาท เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคล ย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๖] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ เบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้น ด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริย- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้ เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงใน ทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตากำหนด โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้ โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติ ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตา เจโตวิมุติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็น ความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความ ดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคล นั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ

บทกราบพระรัตนตรัย ( Ratanattaya Vandana )
Arahaṃ sammā-sambuddho bhagavā.
Buddhaṃ bhagavantaṃ abhivādemi. 🙏
Svākkhāto bhagavatā dhammo.
Dhammaṃ namassāmi.🙏
Supaṭipanno bhagavato sāvaka-saṅgho.
Saṅghaṃ namāmi.🙏
     นมัสการพระพุทธเจ้า (Buddhabhivadana )
Namo Tassa Bhagavato Arahato Sammā Sambuddhassa
Namo Tassa Bhagavato Arahato Sammā Sambuddhassa
Namo Tassa Bhagavato Arahato Sammā Sambuddhassa
บทไตรสรณคมน์  Tisarana
Buddham saranam gacchami  Dhammam saranam gacchami Sangham saranam gacchami 
Dutiyampi Buddham saranam gacchami  Dutiyampi Dhammam saranam gacchami  Dutiyampi Sangham saranam gacchami Tatiyampi Buddham saranam gacchami  Tatiyampi Dhammam saranam gacchami  Tatiyampi Sangham saranam gacchami  บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ (พุทธานุสติ) Recollection of the Buddha
Itipiso Bhagava Araham Sammasambuddho
Vijjacaranasampanno Sugato Lokavidu Anuttaro 
Purisadammasarathi Satthha Devamanussanam Buddho Bhagavati
บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ (ธัมมานุสติ)  Recollection of the Dhamma (Doctrine)
Savakkato Bhagavata Dhammo Sanditthiko Akaliko Ehipassiko Opanayiko Paccattam Veditabbo vinnuhiti
บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ(สังฆานุสติ) -Recollection of the Sangha
Supatipanno Bhagavato Savakasangho,
Ujupatipanno Bhagavato Savakasangho,
Nayapatipanno Bhagavato Savakasangho,
Samicipatipanno Bhagavato Savakasangho,
Yadidam cantari purisayugani attha purisapuggala Esa Bhagavato Savakasangho Ahuneyyo Pahuneyyo Dakkhineyyo Anjalikaraniyo Anuttaram Punnakkhettam Lokassati
บทแผ่เมตตาให้ตนเอง - Loving kindness to oneself
Aham sukhito homi, May I be happy,
Niddukkho homi, May I be free from sufferings,
Avero homi,  May I be free from enmity.
Abbayapajjho homi, May I be free from obstacles and dangers,
Anigho homi,  May I be without physical or mental suffering. Sukhi attanam pariharami. May I be happy in both body and mind. May I be able to protect myself from danger.
บทสวดมนต์ คาถามหาเมตตาใหญ่ ( เมตตาพรหมวิหาร )
Evam me sutaṃ: ekaṃ samayaṃ Bhagavā Sāvatthiyaṃ viharati Jetavane Anāthapiṇḍikassa ārāme
Tattra kho bhagavā bhikkū āmantesi bhikkavoti Bhatanteti te bhikkū bhagavato paccassosuṃ
bhagavā etathavoca mettaya Bhikhave jetovimutiyā āsevitāya bhāvitāya bahulīkatāya yānīkataya Vathukatāya anutthitāya paricitāya susamaratdhāya ekātasānisaṃsā pāthikaṃkhā
katame ekātasa Sukham supati Sukham patibujati Na pāpakaṃ supinaṅ passati Manussānaṃ piyo hoti Amanussānaṃ piyo hoti Devatā rakkhanti Nassa aggi vā visaṃ vā sattham va kamati Tuvatuṃ cittaṃ samādhiyati
Mukhavanno vipasī dati Asammulaho kālaṃ karoti Uttariṅ appativijjhanto brammalogūpago hoti
Mettāya Bhikhave jetovimutiyā āsevitāya bhāvitāya bahulīkatāya yānīkataya vathukatāya anutthitāya paricitāya susamarat’dhāya Ime ekātasānisansā pātikamkhā
Atthi anodhiso pharanā mettajetovimuti Atthi odhiso pharanā mettajetovimuti Atthi disā pharanā mettajetovimuti
Katīhākarehi anodhiso pharanā mettajetovimuti Katīhākarehi odhiso pharanā mettajetovimuti Katīhākarehi disā pharanā mettajetovimuti
Pañca-hākārehi anodhiso pharanā mettajetovimuti Satta-hākārehi odhiso pharanā mettajetovimuti Dasa-hākārehi disā pharanā mettajetovimuti
Katamehi pañcahākarehi anotiso pharanā Mettajetovimuti
๑) Sabbe sattā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṃ pariharantu
๒) sabbe pāṇā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṃ pariharantu
๓) sabbe bhūtā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṃ pariharantu
๔) sabbe puggalā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṃ pariharantu
๕) sabbe attabhāvapariyāpannā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṃ pariharantuti
Imehi pañcahākarehi anotiso pharanā mettajetovimuti
Katamehi Satta-hākārehi odhiso pharanā mettajetovimuti
๑) Sabbā itthiyo averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbe purisā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbe ariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbe anariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbe devā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbe manussā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbe vinipātikā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
Imehi sattāhākarehi anotiso pharanā mettajetovimuti
Katamehi tasa-hākārehi odhiso pharanā mettajetovimuti
๑) Sabbe puratthimaya  disaya satta averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbe pacchimaya disaya satta averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbe uttaraya disaya satta averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbe dakkhinaya disaya satta averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbe puratthimaya anudisaya satta averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbe pacchimaya anudisaya satta averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbe uttaraya anudisaya satta averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๘) Sabbe dakkhinaya anudisaya satta averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๙) Sabbe hettimaya disaya satta averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑๐) Sabbe uparimaya disaya satta averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑) Sabbe puratthimaya  disaya pāṇā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbe pacchimaya disaya pāṇā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbe uttaraya disaya pāṇā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbe dakkhinaya disaya pāṇā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbe puratthimaya anudisaya pāṇā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbe pacchimaya anudisaya pāṇā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbe uttaraya anudisaya pāṇā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๘) Sabbe dakkhinaya anudisaya pāṇā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๙) Sabbe hettimaya disaya pāṇā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑๐) Sabbe uparimaya disaya pāṇā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑) Sabbe puratthimaya disaya bhūtā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbe pacchimaya disaya bhūtā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbe uttaraya disaya bhūtā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbe dakkhinaya disaya bhūtā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbe puratthimaya anudisaya bhūtā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbe pacchimaya anudisaya bhūtā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbe uttaraya anudisaya bhūtā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๘) Sabbe dakkhinaya anudisaya bhūtā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๙) Sabbe hettimaya disaya bhūtā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑๐) Sabbe uparimaya disaya bhūtā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑) Sabbe puratthimaya disaya puggalā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbe pacchimaya disaya puggalā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbe uttaraya disaya puggalā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbe dakkhinaya disaya puggalā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbe puratthimaya anudisaya puggalā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbe pacchimaya anudisaya puggalā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbe uttaraya anudisaya puggalā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๘) Sabbe dakkhinaya anudisaya puggalā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๙) Sabbe hettimaya disaya puggalā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑๐) Sabbe uparimaya disaya puggalā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑) Sabbe puratthimaya disaya attabhāvapariyāpannā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbe pacchimaya disaya attabhāvapariyāpannā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbe uttaraya disaya attabhāvapariyāpannā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbe dakkhinaya disaya attabhāvapariyāpannā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbe puratthimaya anudisaya attabhāvapariyāpannā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbe pacchimaya anudisaya attabhāvapariyāpannā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbe uttaraya anudisaya attabhāvapariyāpannā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๘) Sabbe dakkhinaya anudisaya attabhāvapariyāpannā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๙) Sabbe hettimaya disaya attabhāvapariyāpannā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑๐) Sabbe uparimaya disaya attabhāvapariyāpannā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑) Sabbā puratthimaya disaya itthiyo averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbā pacchimaya disaya itthiyo averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbā uttaraya disaya itthiyo averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbā dakkhinaya disaya itthiyo averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbā puratthimaya anudisaya itthiyo averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbā pacchimaya anudisaya itthiyo averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbā uttaraya anudisaya itthiyo averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๘) Sabbā dakkhinaya anudisaya itthiyo averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๙) Sabbā hettimaya disaya itthiyo averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑๐) Sabbā uparimaya disaya itthiyo averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑) Sabbe puratthimaya disaya purisā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbe pacchimaya disaya purisā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbe uttaraya disaya purisā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbe dakkhinaya disaya purisā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbe puratthimaya anudisaya purisā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbe pacchimaya anudisaya purisā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbe uttaraya anudisaya purisā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๘) Sabbe dakkhinaya anudisaya purisā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๙) Sabbe hettimaya disaya purisā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑๐) Sabbe uparimaya disaya purisā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑) Sabbe puratthimaya disaya ariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbe pacchimaya disaya ariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbe uttaraya disaya ariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbe dakkhinaya disaya ariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbe puratthimaya anudisaya ariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbe pacchimaya anudisaya ariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbe uttaraya anudisaya ariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๘) Sabbe dakkhinaya anudisaya ariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๙) Sabbe hettimaya disaya ariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑๐) Sabbe uparimaya disaya ariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑) Sabbe puratthimaya disaya anariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbe pacchimaya disaya anariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbe uttaraya disaya anariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbe dakkhinaya disaya anariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbe puratthimaya anudisaya anariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbe pacchimaya anudisaya anariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbe uttaraya anudisaya anariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๘) Sabbe dakkhinaya anudisaya anariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๙) Sabbe hettimaya disaya anariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑๐) Sabbe uparimaya disaya anariyā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑) Sabbe puratthimaya disaya devā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbe pacchimaya disaya devā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbe uttaraya disaya devā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbe dakkhinaya disaya devā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbe puratthimaya anudisaya devā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbe pacchimaya anudisaya devā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbe uttaraya anudisaya devā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๘) Sabbe dakkhinaya anudisaya devā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๙) Sabbe hettimaya disaya devā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑๐) Sabbe uparimaya disaya devā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑) Sabbe puratthimaya disaya manussā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbe pacchimaya disaya manussā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbe uttaraya disaya manussā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbe dakkhinaya disaya manussā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbe puratthimaya anudisaya manussā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbe pacchimaya anudisaya manussā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbe uttaraya anudisaya manussā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๘) Sabbe dakkhinaya anudisaya manussā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๙) Sabbe hettimaya disaya manussā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑๐) Sabbe uparimaya disaya manussā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑) Sabbe puratthimaya disaya vinipātikā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๒) Sabbe pacchimaya disaya vinipātikā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๓) Sabbe uttaraya disaya vinipātikā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๔) Sabbe dakkhinaya disaya vinipātikā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๕) Sabbe puratthimaya anudisaya vinipātikā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๖) Sabbe pacchimaya anudisaya vinipātikā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๗) Sabbe uttaraya anudisaya vinipātikā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๘) Sabbe dakkhinaya anudisaya vinipātikā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๙) Sabbe hettimaya disaya vinipātikā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantu
๑๐) Sabbe uparimaya disaya vinipātikā averā abyāpajjhā anīghā sukhī attānaṅ pariharantuti
Imehi dasahākārehi disā paranā mettācetovimuti
Sabbesaṃ sattānaṃ pīḷaṇaṃ vajjetavā apīḷanāya uppaghātaṃ vajjetavā anupaghātena santāpaṃ vajjetavā asantāpeṇa pariyadāṇaṅ vajjetavā apariyadāṇena vihesaṃ vajjetavā avihesāya sabbe sattā averino hontu mā verino sukhino hontu mā dukkhino sukhitattā hontu mā dukkhitattāti imehi aṭṭhahākārehi sabbe satte mettayatīti metta 
Taṃ dhammaṃ cetayatīti ceto sabba-byapadapariyuṭṭhānehi muccatīti vimuti mettā ca cetovimuti cāti mettacetovimuti (mettāprammavihara bhavanā niṭṭhitā)















หนังสือ สวดมนต์ คาคามหาเมตตาใหญ่, ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ ป.ธ.๗, พธ.บ. สำนักพิมพ์ เลี่ยงเซียง https://www.amphawan.net/กฎแห่งกรรม-เล่ม-๑/พิกุลเทพสถิต/

https://www.amphawan.net/ปฏิบัติธรรม/การเตรียมตัวมาปฏิบัติ/

https://www.amphawan.net/สื่อธรรมะ/หนังสือกฎแห่งกรรม/

https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=73

https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=8449&Z=8691

http://chanting-book-for-buddha.blogspot.com/2017/11/mettajetovimuti.html