หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2563

งานผู้ช่วยพยาบาล CNA ต้องทำอะไรบ้าง

                    สวัสดีค่ะ   มาตามคำสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะมาเล่าเรื่อง งานผู้ช่วยพยาบาล CNA Job description  จะขอเล่าเฉพาะที่มีประสบการณ์นะคะ  เช่น สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ nursing home, ดูแลผู้ป่วยตามบ้าน home health care, และที่โรงพยาบาล hospital 

คุณCNAสามารถมีงานให้เลือกได้มากกว่า 3 แหล่งที่กล่าวมาข้างต้นนะคะ แต่งานที่นอกเหนือจากทั้งสามอย่างนี้ไม่ทราบว่าเค๊าทำอะไรกันบ้าง ก็เลยจะขอเล่าเฉพาะเท่าที่ตัวเราเองมีประสบการณ์นะคะ ( แม้แต่งานแบบเดียวกันแต่ถ้าทำต่างสถานที่ ก็ไม่เหมือนกันค่ะ)  แต่อย่างน้อยคุณก็พอจะได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นและอาจจะไปเรียนรู้เพิ่มเติม จากหัวหน้า หรือ เพื่อนร่วมงานที่นั้นๆ   แต่ไม่ต้องกลัวนะคะ เพราะปกติแล้ว ที่ nursing home และที่ hospital  เขาจะมีการสอนงานกันก่อนค่ะ  (orientation)  

* การเขียนใบสมัครงาน resume ถ้าคุณไม่เคยมีประสบการณ์ทำงานที่อเมริกาเลย แต่ว่าคุณมีประสบการณ์ทำงานที่เมืองไทยมาหลายๆปี  ก็สามารถนำมาเขียนได้นะคะว่าคุณเคยทำที่ไหนมาบ้าง  การสมัครงานทุกๆที่ทั้งโรงพยาบาล ทั้งสถานดูแลผู้สูงวัย และดูแลคนป่วยตามบ้าน ก็จะ Apply online เอาไว้หลายๆที่เลยค่ะ 
ส่วนงาน โฮมเฮลล์แคร์ ดูแลคนป่วยตามบ้านคุณสามารถไปสมัครที่เอเจนซี่เองได้เลยค่ะ

CNA ผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลกะกลางคืน

1. Pick up worksheet and cell phone เมื่อรูดบัตรเข้าทำงานแล้ว ก็จะมารับมอบหมายงานที่ nurse station  ว่าเราจะได้รับ pod ไหน A,B,C โรงพยาบาลที่เราทำอยู่นั้น เป็นโรงพยาบาล ขนาดเล็ก เราเลือกสมัครลงที่แผนก โรคหัวใจ  เมื่อได้รับ ใบงานรับผิดชอบมาแล้ว เราจะเดินไปรับงานต่อจากเพื่อนร่วมงาน shift เช้า เพราะเราต้องรู้ด้วยว่าคนไข้คนไหนที่เราต้องเช็คน้ำตาล หรือคนไข้คนไหนที่ท้องเสีย หรือคนไข้คนไหนที่ ISO (Isolation patient) หรือ คนไข้ที่ ไม่สามารถเดินได้  หรือคนไข้ที่ NPO ห้ามให้ทานอาหาร  ช่วงรับกะต่อกันนี่สำคัญเหมือนกันค่ะ 
* who is total care, assist, and self -patient
* who is blood sugar, daily weight and who has foley, uses beside commode, needs assistance with meals, NPO, going for a procedure, being discharged
ควรจะเช็คอุปกรณ์ก่อน vital sign machine, thermometer, pulse OX เวลาเข้ามาทำงาน พอมาเซ็นชื่อและรับโทรศัพท์ปั๊บ ขณะที่รอเพื่อนที่จะมารายงานส่งมอบงานต่อให้เราได้ ช่วงที่รอนั้นให้เรารีบเดินไปเตรียม หาเครื่อง vital sign ก่อนเลย แล้วเช็คดูว่าเครื่องที่เราจะใช้นั้น ทุกอย่างทำงานดี ครบถ้วนหรือเปล่า เพราะเนิสเทค(CNA) แต่ละคน พอเข้ากะปั๊ปเราก็จะเดินหาอุปกรณ์เครื่องมือทำมาหากินของเราก่อนเลย หาดูเครื่องที่ทำงานปกติทั้งเช็คความดันและออกซิเจนได้ เสร็จแล้วจึงเช็คเครื่อง glucometer เติม strips และ Lancet

รูปตัวอย่างด้านล่างเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเช็คblood sugar ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลอาจจะใช้แตกต่างจากในภาพส่วน Lancets พลาสติกหลากสีนั้น เป็นอุปกรณ์ที่จะใช้เจาะนิ้วคนป่วย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เราต้องนำมาใส่เพิ่มในกล่องเครื่องมือของเรา  และเมื่อใช้ไปแล้วก่อนจะเลิกงานต้องเติมไว้ให้shiftต่อไปด้วย รวมไปถึง empty sharp containers ต้องเช็คดูกล่องขยะที่ใส่เข็มหรือเลนซิท ว่าเต็มหรือยัง ถ้าเต็มแล้วเราก็จะต้องเอากุญแจมาไขและเอาออกไปเทในที่สำหรับขยะของมีคม





2.   1:12  or 1:18  or 1:7 แต่ละโรงพยาบาล นั้น CNA จะรับผิดชอบคนไข้ไม่เท่ากัน ถ้าโรงพยาบาลใหญ่ๆ แบบดีๆหน่อย  ผู้ช่วยพยาบาล CNA 1คน ก็รับหน้าที่ดูแลคนไข้ประมาณ 7 คน แต่โรงบาลที่เราอยู่ผู้ช่วยพยาบาล 1คน ต่อคนไข้  12 คน บางวันเพื่อนร่วมงานหยุดแบบไม่บอกล่วงหน้า เราก็จะรับผิดชอบคนป่วยมากกว่า 12 ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ หัวหน้า charge nurse ว่าเค๊าจะให้รับผิดชอบคนไข้ทั้งหมดกี่ห้อง

3. เวลาเข้าไปในห้องคนป่วย เราก็จะทักทาย ผู้ป่วยGreeting patient และ แนะนำตัวเราเองว่าชื่ออะไร พร้อมทั้ง เขียนชื่อพยาบาล RN. คนที่รับผิดชอบคนป่วย และชื่อเราเองผู้ช่วยพยาบาล  CNA และเบอร์โทรศัพท์ทั้งสองคนตามเบอร์ cell phone ที่ได้รับของโรงพยาบาล เขียนลงบนกระดาน เพื่อให้คนไข้รับรู้ 

4. Vital signs-Check blood pressure หลังจากที่เช็ค ความดันโลหิตแล้ว เราก็จะเติมน้ำ น้ำแข็งให้กับคนไข้ พร้อมกันนั้นเราก็จะถามคนไข้ว่าต้องการ แซนวิช ขนม แคร็กเกอร์ เจลลี่ นม หรือ น้ำผลไม้ หรือเปล่า

5. Do QC on the glucometer, (Check blood sugar) เช็คน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน สองครั้ง ในแต่ละshift ของเรา หรือคนไข้บางคน ต้องเช็คน้ำตาลมากกว่านั้น ตามคำสั่งของพยาบาล หลังจากเช็ดน้ำตาลเสร็จแล้ว ให้โยนเข็ม Lancet ที่ใช้แล้ว ลงขยะ ของมีคม  disposed needles in a sharp container 

6. Bathe patients เช็ดตัวคนไข้ และเปลี่ยนผ้าปูที่นอน change bed linens คนไข้บางคนสามารถอาบน้ำเองได้ การเช็ดตัวคนไข้จะมีผ้าผืนเล็กๆ ที่เค๊าวอร์มไว้ให้อยู่แล้วที่ห้องเก็บของ เมื่อเราเห็นว่าผ้าสำหรับทำความสะอาดคนไข้ใกล้หมดแล้วก็หยิบเพิ่มใส่ไปในตู้  ผ้าเช็ดตัวธรรมดา 
สำหรับการเตรียมคนไข้คนไหนที่จะต้องไปเข้าห้อง procedure room ผ้าสำหรับเช็ดตัวผู้ป่วยก่อนนำไปผ่าตัดนั้น จะมีอัลกอฮอล์ เมื่อเช็ดแล้วจะไม่ย้อนศรกลับไปกลับมา ส่วนคนไข้คนไหนที่ต้องผ่าตัดใส่หรือเปลี่ยนpacemaker ผู้ช่วยพยาบาลต้องโกนขนที่ส่วนขาหนีบ groin area ก่อนที่จะเช็ดตัวแล้วจึง transfer patient to procedure room คนไข้บางคนอาจจะโกนเอง ทางโรงบาลจะใช้ที่โกน 3M ไม่ต้องกลัวมีดบาดคนไข้นะคะ เพราะว่าเครื่องมือโกนแบตเตอรี่สามเอ็มนั้นมีระบบป้องกันที่ดีค่ะ 

7. Assistance to bathroom คนไข้อาจจะ call light ต้องการความช่วยเหลือพยุงเข้าห้องน้ำ , 

(หรือว่าอาจจะให้ช่วยพยุงนั่งที่โถปัสสาวะหรืออุจจาระ ที่อยู่ข้างๆเตียงคนไข้  bedside commode) 
(หรือคนไข้ผู้หญิงอาจจะให้ช่วยสอดกระโถนให้ ส่วนคนไข้ผู้ชายก็จะเป็นกระป๋องปัสสาวะ assistances with bedpan or urinal)

8. Turning position every 2 hours  ปรับเปลี่ยน หรือพลิกตัวท่าการนอนของคนไข้ทุกๆ สองชั่วโมง เพื่อป้องกันแผลกดทับที่ก้นหรือส่วนต่างๆของคนไข้ Pressure ulcers หรือ Bed sores ข้อนี้จริงๆ แล้วก็ทำไม่ได้เปะๆทุกสองชั่วโมงหรอกค่ะ  เพราะบางทีเราก็ไม่ว่างที่จะต้องปรับเปลี่ยนท่าการนอนของทั้ง 12 คน ทุกๆ สองชั่วโมง จะปรับเปลี่ยนให้คนไข้เหมือนกันค่ะ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ทุกสองชั่วโมงค่ะ  





9. Rounding hour every hour ข้อนี้คือต้องเดินไปเช็คคนไข้ทุกหนึ่งชั่วโมง เราก็ต้องไปเช็คดูว่า ช่วงที่เราไปเช็คนั้น คนไข้ทำอะไรอยู่ แล้วเขียนลงไปกระดาษ rounding hour ซึ่งมีไว้อยู่ที่ประตูห้องด้านใน ก่อนที่เราจะเปลี่ยนกะ เราก็ต้องมาเก็บกระดาษทุกห้องที่เรารับผิดชอบไปใส่ในไฟน์ที่ nurse station และสอดใบใหม่ใส่ไว้ให้สำหรับพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลกะเช้าใช้ลงข้อมูล ในบางห้อง คนไข้ที่ไม่ชอบการรบกวน  คงอยากจะนอนพักผ่อนให้เต็มที่ คนไข้จะให้พยาบาลเขียนแปะไว้ที่หน้าห้องเลยว่า ห้ามรบกวน  ดังนั้นผู้ช่วยก็ผ่านห้องนั้นไปได้เลย


10. Empty urine, ก่อนจะเปลี่ยนกะ เราจะต้องเอาน้ำปัสสาวะไปเททิ้ง แต่ก็ไม่เสมอไปนะคะ ที่จะเทน้ำปัสสาวะเฉพาะตอนก่อนเปลี่ยนกะ  เพราะถ้าคนไข้บางคนปัสสาวะบ่อยและเต็มถุงแล้ว เราก็ต้องนำออกมาเทก่อนเลย  ***
ทุกครั้งก่อนที่จะเทน้ำปัสสาวะที่อยู่ในถุง ทิ้งลงไปในโถส้วม เราต้องเทใส่ในเหยือกตวงก่อน แล้วจึง จดใส่กระดาษก่อน เพื่อเก็บข้อมูลเอาไว้ เพราะเมื่อเสร็จจากงานทุกห้องแล้ว เราจะต้องนำข้อมูล มา Report ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ว่าปัสสาวะเท่าไหร่  แล้ว สีclear หรือว่ามีสิ่งแปลกปลอม หรือว่าเป็นสีเลือด ถ้าเห็นลักษณะดูแล้วน่าจะเป็นอันตรายให้เราบอกพยาบาลRNที่รับผิดชอบงานคู่กันกับเรา การทำงานต้องทำเป็นทีมเวิคร์  ผู้ช่วยพยาบาลจะต้องคอยสังเกตุดูคนไข้ในเบื้องต้น เหนื่อย เพลีย ถ้าเห็นคนไข้อาการไม่ดีให้รีบบอกพยาบาลเลย ส่วนคนไข้บางคนที่ต้องเก็บน้ำปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เราก็ต้องหาน้ำแข็งมาหล่อกระป๋องปัสสาวะเอาไว้

11. คนไข้ ISO (Isolation)สำหรับตัวย่อนี้ แต่ละโรงบาลอาจจะเรียกไม่เหมือนกันนะคะ แต่เพื่อนร่วมงานที่ทำอยู่นานแล้ว เค๊าขียนแบบนั้น เราก็เลยเขียนตามเค๊า ก่อนเข้าไปในห้องคนไข้ เราต้องใส่ชุด PPE ชุดกราวสีเหลือง ถุงมือ และหน้ากากก่อน


12. ช่วยงานแผนกอื่นๆ : 
บางวัน เราอาจจะต้องไปช่วยงานแผนกอื่นๆ ถ้าแผนกนั้น CNA ไม่พอ ซึ่งงานปกติแล้วเราจะมีหน้าที่ดูแลคนไข้ตึกหัวใจ แต่ถ้าวันไหนมีคำสั่งให้ไปช่วยงานตึกอื่น ก็ไม่ต้องกลัวนะคะ ค่อยๆ เรียนรู้งานไป เพราะหัวหน้าและพยาบาลที่ตึกอื่นๆ เค๊าก็จะสอนงานดีเหมือนกันค่ะ  งานก็จะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่สำหรับคนไข้ตึกหัวใจนั้น CNA จะต้องคอยเช็ค Tele-box ( Telemetry) บางทีแบตเตอรี่หมด เราก็จะเปลี่ยน หรือบางทีคนไข้พลิกตัวไปมา แล้วสายEKG lead หลุดเราก็จะไปแปะสายนั้นให้ เรื่องการแปะ EKG leadที่หน้าอกคนไข้นั้น ตอนที่โรงพยาบาลมีการปฐมนิเทศน์รวมพนักงาน เค๊าก็จะสอนค่ะว่าต้องทำอย่างไร แล้วเมื่อเรามาทำงานในตึกเรา คนที่เป็น Leader ที่สอนงานเราในอาทิตย์แรกก็จะสอนให้อีกเหมือนกัน  ในเครื่องก็จะบอกว่าถ้าเราแปะผิดสัญญาณไฟจะขึ้นเป็นสีแดง และ ที่ EKG lead ก็จะมีบอกเหมือนกันว่าเป็นข้างซ้ายหรือขวา  เจ้ากล่องนี้จะส่งสัญญาณไปที่จอคอมพิวเตอร์ที่เนิสสเตชั่น และยังส่งสัญญาณไปที่หน่วย Telemytry section ด้วย

-ถ้าวันไหนเรามาทำงานแล้ว charge nurse ส่งเราไปยังห้องผู้ป่วยเด็กเล็กแล้วละก็วันนั้นอิฉานจะมีความสุขมากกกกกเลย เพราะปกติเป็นคนชอบเด็กค่ะ  การดูแลผู้ป่วยเด็ก  ก็จะเปลี่ยนdiaper โดยการชั่งน้ำหนักของ diaper ใหม่ที่ยังไม่ได้ใช้ ให้จดน้ำหนักของไดเปอร์ใหม่เอาไว้ก่อน เสร็จแล้วจึงนำ diaper อันที่ถอดออกมาที่มีน้ำปัสสาวะด้วย นำมาชั่ง แล้วจึงนำตัวเลขมาหักลบกัน กับอันที่ยังไม่ได้ใช้ ก็จะได้ยอดน้ำหนักปัสสาวะ  ให้จดเอาไว้ก่อน เปลี่ยนครั้งที่หนึ่ง น้ำหนักเท่าไหร่ เขียนเอาไว้ก่อน เพราะจะต้องเก็บตัวเลขไว้สำหรับเขียนรีพอททีหลัง และก็จะมีการเปลี่ยนผ้าอ้อม เปลี่ยนผ้าปูที่นอน นำขยะเก่าไปทิ้งและเปลี่ยนถุงขยะใหม่ ส่วนงานหลักๆ ดูแลเด็กก็จะเป็นหน้าที่ของพยาบาลRN  เด็กเป็นอะไรที่บอบบาง ดังนั้นถ้าเราเป็น CNA ที่ไม่ได้ถูกเทรนมาสำหรับดูแลเด็กเล็ก และเมื่อวันไหนที่มีคนจากแผนกอื่นไปช่วยงาน เค๊าจึงให้เราดูแลเฉพาะงานปลีกย่อยง่ายๆ 

-บางวันหัวหน้าอาจจะให้คุณไปนั่งเป็น sitter ดูแลคนป่วย 

13. เมื่อเสร็จงานทุกห้องแล้ว เราต้อง Report ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ print report sheets for next shift และเขียน Report รายละเอียดของคนไข้ ให้ CNA ที่อยู่กะเช้าได้ทราบรายละเอียดด้วย เหมือนข้อที่ 1 เกี่ยวกับเขียนเช็คน้ำตาล ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว และที่เพิ่มเติมอีกก็คือ ถ้าคนไข้สามารถ ดูแล ช่วยเหลือตัวเอง อาบน้ำเองได้ เราก็จะเขียนรายงานในกระดาษว่า self, หรือ ถ้าเราเช็ดตัวให้คนไข้คนไหนแล้ว เราก็ต้องเขียนลงไปในกระดาษ report ด้วย เพราะ cna กะเช้าจะได้ไปเช็ดตัวคนไข้ห้องอื่นต่อ หรือคนไข้บางคนไม่ต้องการความช่วยเหลือมากนักก็ light assist, หรือมากก็ total assist,หรือคนไข้เป็นอัมพาต, คนไข้ท้องเสีย, คนไข้ที่เดินไม่ได้, หรือคนไข้บางคนที่ไม่ปกติและมีอาการเกรี้ยวกราดมาก เราก็ต้องเขียนลงไปในรายงานกระดาษนั้น เพราะคนที่ทำงานต่อกะจากเราจะดูจากแผ่นกระดาษรายงานที่เราส่งต่อให้เค๊าตอนเช้า

14. นอกเหนือไปจากดูแลคนป่วยแล้ว ก็ยังจะมีการบ้านออนไลน์ที่ต้องส่งด้วย  คุณก็ต้องเช็คอีเมล์ด้วยเพราะ Directer จะส่ง การบ้าน ออนไลน์มาให้ทำอย่างต่อเนื่อง จะเป็นลักษณะ คล้ายๆ กับเรียนรู้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องไหนที่ทางหัวหน้า หรือโรงพยาบาลต้องการให้พนักงานเรียนรู้เพิ่มเติม เค๊าก็จะส่งรายการว่ามีเรื่องอะไรบ้าง โดยเราต้องเข้าไปในแว๊ปไซด์ของโรงบาล และทำการอ่านและต้องตอบคำถามด้วย  

15. เมื่อมีป้ายติดประกาศที่ห้องพักพนักงาน Mandatory ว่าจะมีการประชุม วัน โน่น นี่ นั่น ถึงแม้ว่าจะเป็นวันหยุดของคุณ คุณก็จะต้องให้ความร่วมมือไปประชุมด้วยค่ะ 

16. ปกติแล้วคนไทยหลายๆคนที่ทำงานอยู่ต่างบ้านต่างเมืองนี่จะทำงานดีอยู่นะคะ  เพราะเรามาจากต่างบ้านต่างเมือง ไปทำงานที่ไหนก็ต้องทำกันอย่างเต็มที่ คนชาติอื่นๆ เค๊าก็ทำงานดีเหมือนกันค่ะ บางครั้งเวลาเจอกับปัญหา  ให้บอกตัวเองว่าต้องอดทนและเข้มแข็ง ปัญหาในที่ทำงานทุกที่ มีทั้งนั้น ไม่ว่าคุณจะไปอยู่ที่ไหน ประเทศไหน ก็ต้องเจอทั้งนั้น สุขบ้าง ทุกข์บ้าง คละเคล้ากันไป ก็ต้องอดทนนะคะ 😇

ขออนุญาตเล่าเรื่องส่วนตัวนิสนึงนะคะ....ยี่สิบปีมาแล้ว เคยไปเข้าครอสอานาปานสติที่ วัดป่าสวนโมกข์ ตอนนั้น คุณแม่เสีย ใจเราอยากจะทำบุญให้แม่ได้รับให้มากที่สุด ก่อนหน้านั้น เคยไปบวชที่วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี หลวงพ่อจรัญ ท่านสอนว่า การทำบุญมีหลายวิธี แต่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จะช่วยนำส่งผลบุญนั้นไปถึงบุพการี ได้เร็ว ก็เลยลางานแล้วขึ้นรถทัวร์จากโคราชไปกรุงเทพ แล้วจากกรุงเทพไปสุราษฏร์  ได้เรียนรู้อะไรมากมายที่นั่น ก่อนกลับได้แวะร้านหนังสือในวัด เราซื้อหนังสือกลับมาหลายเล่มอยู่ค่ะ ตอนที่กำลังเลือกหนังสืออยู่นั้นมีพี่กัลยาณมิตรท่านหนึ่งไม่ทราบชื่อ พี่ถามว่า น้องเคยอ่านหนังสือของท่านพุทธทาสหรือเปล่าคะ เราตอบว่าไม่เคยค่ะ งั้นน้องลองอ่านนิทานเซ็น แบบเล่มเล็กๆ ขนาดพ๊อคเกทบุ๊ค ดูนะคะ น่าจะเข้าใจได้ง่ายค่ะ  ก็เลยซื้อมานิทานเซ็นมาสองเล่ม และซื้อหนังสือ คู่มือมนุษย์ และอื่นๆ อีกมากมาย ชอบนิทานเซ็น หนึ่งเล่มจะมีนิทานสั้นๆ อยู่หลายเรื่อง แต่มีเรื่องหนึ่งที่จำเอาไว้สอนใจตัวเอง คือในนิทานสอนว่า ฟ้าลิขิตชีวิตให้เรา 30 % ส่วนอีก 70 % นั้นเราลิขิตชีวิตให้ตัวเราเองนะคะ 😊  

ที่ชอบอีกก็จะมีหนังสือคำกลอน ซึ่งก็จะมีกลอนหลายๆบท ที่ท่านพุทธทาส สอนไว้ 












งานผู้ช่วยพยาบาล CNA nursing home

1. เมื่อเริ่มงานปั๊บ ไปที่ห้องเก็บของ เพื่อไปเอาถังน้ำแข็งมาเติมน้ำแข็ง แล้วจึงนำไปเติมน้ำและน้ำแข็ง ให้กับคนไข้แต่ละห้อง 

2. เปลี่ยน diaper และเปลี่ยนผ้าปูที่นอน และเปลี่ยนชุดให้คนไข้  ผู้สูงอายุบางคน จะไม่สรวมชุดกราวของ เนิสซิ่งโฮม เค๊าจะมีเสื้อผ้าอยู่ในตู้เสื้อผ้า เราก็จะทำความสะอาดตัวผู้ป่วยก่อน และจึงเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ และหวีผมให้ ส่วนคนไข้บางคนก็สามารถช่วยตัวเองได้ 
คนไข้ที่อยู่ที่เนิสซิ่งโฮม บางคนเป็น Dementia มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ เมื่อถึงเวลาส่งคนไข้เข้านอนแล้ว เราจะปรับเตียงให้เตี้ยลงมา เพื่อป้องกันไม่ให้คนไข้ตกเตียง และบางคนไข้เราต้องดึงราวเตียงที่อยู่ด้านข้าง Bed rails ขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้คนไข้พลิกตัวตกออกมาจากเตียง

3.ในแต่ละอาทิตย์บางวันที่ห้องอาหารจะมีการเล่นบิงโก หรือมีcraft ศิลปะงานฝีมือมาสอนให้คนป่วย ประมาณเวลา บ่าย 3 โมง CNA ก็จะเข็นรถพาผู้สูงวัยบางท่าน ไปยังห้องนั้น

4. 1:17  CNA หนึ่งคนดูแลผู้ป่วย17 คน คุณอาจจะเห็นว่าดูที่ตัวเลขแล้วที่เนิสซิ่งโฮม นั้นคุณต้องดูแลผู้ป่วยเยอะกว่าโรงพยาบาล แต่ว่างานที่เนิสซิ่งโฮม จะง่ายกว่างานที่โรงพยาบาล และผู้ป่วยสองคนอยู่ในห้องเดียวกัน บางห้องก็มีคนป่วยคนเดียว และห้องก็จะเล็กๆ ติดๆ กัน ถ้าเทียบกันแล้วหน้าที่ของCNAที่รับผิดชอบใน nursing home จะไม่เยอะเท่ากับโรงพยาบาล แต่ก็ทำไม่หยุดเหมือนกัน  
ในเนิสซิ่งโฮม เมื่อใกล้ถึงเวลารับประทานอาหารเย็น CNA จะต้องรีบเปลี่ยนไดเปอร์และเปลี่ยนเสื้อผ้าให้กับคนไข้ที่จะไปรับประทานอาหารที่ห้องอาหารรวมก่อน และคอยดูแลช่วยป้อนอาหารให้กับผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองไม่ได้ 

5. ดูแลความเรียบร้อยในห้องผู้ป่วย empty trash ดึงถุงขยะเก่าออกมารวมๆ กันแล้วเปลี่ยนถุงพลาสติกใบใหม่ ไว้ให้สำหรับ shift ต่อไป

6. รายงานทางคอมพิวเตอร์

7. ประชุม

ดูแลผู้ป่วยตามบ้าน home health care 

- ช่วยเหลือคนไข้ที่ดูแลตัวเองไม่ได้ เช่น อาบน้ำให้ผู้ป่วย หวีผม แต่งตัว  หรือ คนไข้บางคนที่ไม่สามารถอาบน้ำได้ รวมไปถึงคนไข้ที่อยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว Hospiec, CNA ก็จะเช็ดตัวให้ เปลี่ยนเสื้อผ้า และหวีผม

-เปลี่ยนผ้าปูที่นอน ซักผ้า ดูดฝุ่น ทำความสะอาดบ้าน ทำอาหารง่ายๆ เช่น แพนเค้ก หรือ แซนวิช คนไข้จะบอกเองว่าเค๊าต้องการรับประทานอะไร 
-ช่วยพยุงคนไข้เดินออกกำลังกายสำหรับคนไข้บางคนที่พอจะเดินได้
-ช่วยเตือนคนไข้ในการรับประทานยา ตามกำหนดเวลา
-บางทีคุณอาจจะต้องขับรถพาคนไข้ออกไปซื้อของ หรือไปหาหมอ


      การไปสมัครงานที่โฮมเฮลล์แคร์นั้น คุณสามารถไปสมัครได้ที่เอเจนซีเลย บางแห่งก็กรอกใบสมัครเสร็จสัมภาษณ์ภายในวันนั้นเลย แล้วก็ให้ตารางวันทำงานในวันนั้นเลย และเอเจนซี บางแห่ง เวลาไปสมัคร เค๊าให้กรอกใบสมัคร แล้วเค๊าจะมีโปสเตอร์ สมุดให้อ่านเกี่ยวกับ HIPAA เดี๊ยวนั้นเลย ให้เราอ่านก่อนทำข้อสอบ แล้วหลังจากสอบเสร็จเค๊าตรวจข้อสอบแล้วบอกว่าผลสอบว่าผ่านหรือไม่ พอผ่านแล้ว เค๊าจะให้เข้าไปในห้องดูวีดีโอ ซึ่งจะมีหลายคนที่มาสมัครงาน มีทั้งพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล  หลังจากดูแล้วทำแบบทดสอบเกี่ยวกับเรื่องที่ดู เมื่อสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เค๊าจึงส่งเราไปที่ห้องสัมภาษณ์ เมื่อสัมภาษณ์เสร็จ เค๊าก็จะถามเราว่า ภายในหนึ่งอาทิตย์เราว่างวันไหน ถ้าเราทำสองที่ เราก็จะบอกว่าเราว่างวันไหน 
สำหรับกรณีสมัครงานโฮมเฮลล์แคร์นี้ อยากให้คุณสมัครไว้หลายๆที่ ทำไมจึงต้องสมัครไว้หลายๆที่ เพราะถ้าเราได้งานที่บริษัทส่งให้ไปทำที่เดียวทุกวันก็ถือว่าโชคดีมากเลย  แต่ถ้าบางบริษัท เค๊าใส่ตารางวันทำงานให้เราไม่แน่นอน ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมต้องสมัครไว้หลายๆ เอเจนซี่ เพราะถ้าเผื่อว่าวันที่ว่างจากเอเจนซี่นี้ จะได้ไปทำอีกเอเจนซี่หนึ่ง   แล้วอีกเหตุผลคือ ถ้าเรายังเป็นพนักงานใหม่ของบริษัท เจ้านายจะยังไม่รู้จักการทำงานของเราดีพอ เพราะฉะนั้นเค๊าก็จะให้เราเป็นคล้ายๆ กับพนักงานสำรองไปก่อน เราจะสแตนบาย คอยว่าถ้ามีพนักงานประจำคนไหนที่หยุด เจ้านายเค๊าก็จะใส่ชื่อเราไปทำแทน  ถ้าถามตัวผู้เขียนเอง และเพื่อนๆร่วมงานที่ โรงพยาบาล ถามว่าชอบทำที่ไหนมากที่สุด ทุกคนจะตอบเหมือนกันว่าชอบทำที่ โฮมเฮลล์แคร์มากที่สุด แต่ว่าโฮมเฮลล์แคร์จะได้รับตารางเวลาการทำงานที่ไม่แน่นอน  ส่วนที่โรงพยาบาล งานหนักก็จริง แต่สวัสดิการดีค่ะ 

ส่วนที่เนิสซิ่งโฮม นั้นตัวเราเองจะมีความผูกพันธ์กับผู้ป่วยมากกว่าทำที่โรงพยาบาล เพราะว่าเห็นกันทุกอาทิตย์แล้วคนป่วยหลายๆ คนน่าสงสารมาก คุณยายบอกว่าเธอเข็นฉันไปด้านหน้าหน่อยสิ เราก็ถามว่าจะไปทำไมเหรอ คุณยายบอกว่าฉันจะไปรอรับลูกสาวฉัน  แรกๆ เราก็เข็นไปให้อยู่นะแต่เราเข็นไปบ่อยๆ ครั้งเข้า ไม่เคยเห็นลูกสาวคุณยายมาเลย น่าสงสารมาก รอลูกสาวทุกวันเลย  

โอเคค่ะ เรียบร้อยแล้ว ทั้งสามงาน เอาแบบคร่าวๆนะคะ เพราะแต่ละสถานที่จะทำไม่เหมือนกัน และถ้าเป็นโรงพยาบาลที่ดีๆ ขนาดใหญ่ๆ หรือเนิสซิ่งโฮมที่ระดับดีๆ เค๊าก็อาจจะมีระบบการทำงานที่ดีเป็นระบบมากกว่านี้ แต่ถ้าคุณสมัครงานที่ไหนได้ก็ให้ทำไปก่อนนะคะ งานทุกอย่างก็ต้องค่อยๆ เรียนรู้กันไป  ขอให้ทุกคนโชคดีได้ทำงานอย่างที่คุณปรารถนานะคะ 🙏😇💖




1 ความคิดเห็น: