หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เคล็ดลับการฝึกทักษะการฟังที่มีประสิทธิภาพ

Alp Mimaroglu on Twitter | Wonder quotes, Inspiring quotes about ...


คุณเคยต้องการมีใครสักคนมารับฟังคุณหรือไม่ ?

การรับฟัง ช่วยให้เพื่อนร่วมงาน หรือ คนป่วย รู้สึกมีค่า,รู้สึกขอบคุณ, รู้สึกน่าสนใจ,และรู้สึกถึงการได้รับความเคารพ.  การสนทนาจะเริ่มจากปกติธรรมดาไปจนถึงในระดับที่ลึกขึ้น เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ในการทำงานของพวกเรา เมื่อเราเป็นผู้รับฟัง เราควรจะส่งเสริมทักษะให้กับผู้อื่น โดยการทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการสื่อสารในเชิงบวกและมีประสิทธิผล

ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน, การสื่อสารพูดคุยที่ดี จะช่วยให้เกิดความเข้าใจและมีผลลัพธ์มากขึ้น เช่นพยาบาลรับฟังคนไข้ของเธอ เพื่อช่วยให้คนไข้มีความมั่นใจในความปลอดภัย  ในด้านการแพทย์ การรับฟังจะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยป้องกันความเข้าใจผิด และเรามักจะเรียนรู้ได้มากขึ้น เมื่อเราเป็นผู้ฟังมากกว่าตอนเราเป็นผู้พูด

จากการศึกษา พบว่า ทักษะในการเป็นผู้รับฟังที่ดี มีความจำเป็นต่อสังคม และอาชีพหน้าที่การงาน ซึ่งทักษะเหล่านี้เราสามารถเรียนรู้ได้ 

เทคนิค การฝึกทักษะการรับฟัง เป็นกฏทอง คือคุณหากต้องการรับฟังใครสักคน ให้คุณคิดว่าคุณต้องการรับฟังอย่างไร

แม้ว่าไอเดียความคิดส่วนใหญ่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่รู้แล้วและทำได้ง่าย แต่ก็ต้องใช้การฝึกฝนเพื่อพัฒนาทักษะ นี่คือสิ่งที่ผู้รับฟังที่ดีรู้ และคุณก็ควรทำเช่นกัน

๑. หันหน้าไปทางผู้พูด นั่งตัวตรง หรือ โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อแสดงความเอาใจใส่ โดยการผ่านภาษากาย 

๒. สบตาให้อยู่ในระดับที่ ทุกคนสบายใจ

๓. ลดสิ่งรบกวนภายนอก ให้น้อยที่สุด เช่น คุณกำลังถือของอะไรอยู่ในมือให้วางลงก่อน(ถ้าจำเป็น)

๔. โต้ตอบผู้พูดตามความเหมาะสม เพื่อแสดงให้ผู้พูดรู้ว่าคุณเข้าใจ เช่น  ครับ, ค่ะ, จ้ะ, หรือพึมพำ อืม," uh-huh", "um hmm", หรือคำพูด "really", "interesting" ทั้งนี้ ทั้งนั้น คุณจะใช้คำไหนให้เหมาะสมกับกิริยามารยาทก็ขึ้นอยู่กับคุณฟังใครพูดอยู่... เพื่อนฝูงหรือเจ้านาย  หรืออาจจะตอบโต้ด้วยภาษากาย เช่น พยักหน้า หรือเลิกคิ้ว หรือการถามให้ตรงประเด็นไปเลย เช่น what did you do then  ตอนนั้นคุณทำอะไรอยู่  what did the doctor say? คุณหมอพูดอะไร

๕. มุ่งเน้นประเด็น รับฟังสิ่งที่ผู้ป่วยกำลังพูดอยู่กับคุณ หรือโฟกัสรับฟังสิ่งที่เพื่อนร่วมงานของคุณกำลังพูดหรืออธิบายอยู่กับคุณ  พยายามอย่าไปโฟกัสถึงสิ่งที่คุณกำลังจะพูดอะไรต่อไป เพราะการสนธนาจะดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนหลังจากที่ผู้พูดชี้ประเด็นแล้วว่าผู้พูดต้องการอะไร

๖. ลดสิ่งที่รบกวนความคิดของคุณ ปลดปล่อยเรื่องราว มากมายที่วก วน วนเวียน รบกวน อยู่ในหัวสมองของคุณ ค่อยๆ ปลดปล่อยมันออกไป แล้ว มุ่งความสนใจไปที่ผู้พูดอย่างต่อเนื่อง ตั้งใจฟัง ทำเหมือนกับที่คุณทำในระหว่างการทำสมาธิ

๗. เปิดใจของคุณ รอจนกว่าผู้พูดจะพูดจบ  ก่อนที่คุณจะตัดสินใจ ไม่เห็นด้วย พยายามอย่าตั้งสมมุติฐาน หรืออย่าเดาว่าผู้พูดกำลังคิดอะไรอยู่ 

๘. หลีกเลี่ยงการแจ้งให้ผู้พูดทราบว่าคุณเคยเจอและจัดการกับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันอย่างไร ถ้าผู้พูดไม่ได้ขอคำแนะนำ ให้ถือว่าผู้พูดแค่ต้องการ พูดออกไป หรือพูดเพียงเพื่อระบายความรู้สึกเท่านั้น

๙. ถึงแม้ว่าผู้พูดต้องการที่จะร้องเรียนคุณ หรือพูดปัญหาเพื่อโต้แย้งกับคุณ ขอให้คุณรับฟังเค๊าพูดให้จบก่อน, อย่าเพิ่งขัดจังหวะ รอจนกว่าผู้พูดจะพูดทุกสิ่งทุกอย่างที่เค๊าอยากพูดออกมา ไม่ว่าผู้พูดจะพูดเพื่อปกป้องตัวผู้พูดเอง หรือพูดเพื่อกล่าวหาคุณก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้คุณได้รับฟังเรื่องราวทั้งหมดที่ผู้พูดต้องการ ดึงประเด็นขึ้นมาพูด และพวกเค๊าก็ไม่ต้องการพูดซำ้ๆ หลายๆ ครั้ง

ถ้าคุณไปขัดจังหวะโดยคุณพยายามที่จะพูดเพื่อปกป้องตัวคุณเองในขณะที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่ยังไม่จบ ก็จะทำให้ต้องพูดซำ้ใหม่  ซึ่งเป็นการเสียเวลา และถ้าทั้งสองฝ่ายโต้กันไปโต้กันมาก็อาจจะไม่จบลงง่ายๆ ดังนั้นการอดทนรอรับฟังจนจบเรื่อง ก็จะช่วยให้คุณรู้ปัญหา ทั้งหมด ก่อนที่จะตอบกลับไป  งานวิจัยแสดงไว้แล้วว่า โดยเฉลี่ยแล้ว เราสามารถได้ยินได้เร็วกว่าที่พูด ถึงสี่เท่า ดังนั้นเราจึงมีความสามารถในการเรียงลำดับความคิดเป็น การรับฟังเรื่องราวทั้งหมดให้จบก่อน ก็จะช่วยให้ผู้พูดมีเวลาเตรียมพร้อมสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

๑๐. ให้ตัวเองได้มีส่วนร่วม ถามคำถามเพื่อความกระจ่าง แต่ว่า รอจนกว่าผู้บรรยายจะพูดจบ ด้วยวิธีนี้ คุณจะไม่ขัดขวางความความคิดของผู้พูด ให้คุณถอดประเด็นคำถามออกมา แล้วถามกลับไปเพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้เข้าใจผิด

ในขณะที่คุณกำลังพัฒนาทักษะการฟังอยู่นั้น คุณอาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคย หรือไม่ถนัด เมื่อมีการหยุดสนทนาตามธรรมชาติ คุณควรพูดอะไรต่อไป เรียนรู้ที่จะจัดการกับความเงียบและใช้ เพื่อทำความเข้าใจทุกประเด็นให้ดีขึ้น  เมื่อทักษะการฟังของคุณดีขึ้น ความสามารถไหวพริบ และปฏิภาณ ในการสนทนาก็จะดีขึ้นด้วยเช่นกัน


โชคดีมีความสุขค่ะ 💖😽


วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ทำอย่างไรคุณจึงจะเรียนหนังสือไปได้รอดในมหาวิทยาลัย ในขณะที่คุณแต่งงานและมีบุตรแล้ว

๑. คุณทั้งสอง ต้องลืมไปเลยว่าใครเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย  แต่ให้แลกเปลี่ยนงานและความรับผิดชอบ ในแบบที่สมเหตุสมผล เนื่องจากมีข้อจำกัดใหม่ เรื่องเวลา  โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่คุณและคู่สมรสของคุณเคยทำมาในอดีต👫

๒. เรียนรู้ที่จะฝึกการปฏิเสธ Say No.. กับเหตุการณ์หรือสิ่งใด ที่จะดึงเอาเวลาของคุณห่างไกลไปจากเป้าหมายของคุณ (ในบางครั้ง ที่คุณจำเป็นที่จะต้องปฏิเสธที่จะเป็นอาสาสมัคร คอยช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่ผู้ปกครองของคุณ  แต่คุณต้องคิดว่าทุกคนสามารถอยู่รอดได้) แล้วหลังจากที่คุณเรียนจบแล้ว สำเร็จแล้ว คุณสามารถไปเติมเต็มจุดจิกซอร์ ที่คุณยังต่อไม่เสร็จได้  

๓. ได้โปรดจำไว้ว่า การศึกษาของคุณจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน หากคุณมีความรู้สึกผิด เกี่ยวเรื่องเวลาที่เสียไป และเงิน ที่คุณต้องจ่ายไปกับการเรียนระดับบัณฑิตศึกษาหรือเรียนหลักสูตรระยะสั้นอะไรก็ตาม  ขอได้โปรดเตือนตัวเองว่า การพัฒนาการศึกษาไม่ว่าจะเป็นระดับมหาวิทยาลัย หรือเข้าครอสระยะสั้นหลักสูตรอาชีพต่างๆเพื่อพัฒนาชีวิต เหล่านี้จะเป็นตัวอย่างที่ดี Role model ให้กับลูกๆของคุณเอง  ที่เห็นคุณมีการพัฒนา  และเมื่อความสำเร็จนั้นมาถึง ตัวคุณเองนั่นแหล่ะที่จะมีความสุข มีความภาคภูมิใจและศรัทธาในตนเอง และเมื่อถึงวันที่คุณสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้น คู่สมรสและลูกๆ ของคุณก็จะได้รับรางวัลเหล่านั้นเช่นกัน  

๔. ให้คู่สมรสและบุตรของคุณได้มีส่วนร่วม เช่น ให้ลูกคุณได้มีส่วนร่วมในการช่วยทำแผนที่เดินทางไกล เวลาที่คุณจะต้องไปประชุมหรือทำงานกลุ่ม กับเพื่อนร่วมชั้น หรือลูกอีกคนอาจจะมาเล่นขายของ ใกล้ๆกับโต๊ะของคุณ, บางครั้งคุณอาจจะทำการบ้านร่วมกับลูก และเมื่อถึงวันหยุด เป็นเวลาที่คุณจะต้องใช้เวลาอย่างมากทุ่มเทไปกับการอ่านและทำรายงาน ดังนั้นคู่สมรสก็จะมาช่วยดึงลูกออกไปเล่นทางอื่นเพื่อให้คุณได้ concentrate อย่างเต็มที่ 

๕. ให้ตะหนักอยู่เสมอว่าคุณเป็นใคร (ฉันมาทำอะไรที่นี่ ฉันมาทำอะไรที่นี่ อ้าวร้องเพลงพี่เบิร์ดซะแล้ว) เพราะคุณจะถูกรายล้อมไปด้วยเพื่อนร่วมชั้นที่มีชีวิต หรือสถานะแตกต่างไปจากคุณ บางครั้งคุณอาจจะนึกว่าคนนั้นโชคดีจังที่ยังโสด มีเวลาเต็มที่กับการเรียน หรือบางครั้งคุณอาจจะเห็นว่า เพื่อนร่วมชั้นของคุณบางคน ต้องทำงานfull time และมีลูกมากกว่าสองคนแถมคู่สมรสยังไม่ support อีก 

๖. การขอความช่วยเหลือ หากคุณมีเงินมากพอที่จะสามารถจ่ายค่าคนดูแลเด็ก หรือค่าทำความสะอาดบ้าน และสิ่งอื่นๆ ที่จะทำให้ตารางเวลาของคุณมีมากขึ้น ก็ทำไปเหอะ แต่ถ้าคุณไม่มีเงินมากพอที่จะไปจ่ายแบบนั้น ก็ต้องเรียนรู้ที่จะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือญาติ คุณจะเห็นว่า ก็จะมีบางคนที่ต้องการช่วยเหลือผู้อื่นอย่าง จริงๆ

๗. การจัดเวลาให้กับคู่สมรส บางทีคุณต้องหาเวลาให้กับคู่สมรสเพื่อรักษาความโรแมนติกให้คงอยู่ในชีวิตแต่งงานของคุณ หลายคนเพิกเฉยต่อส่ิงนี้ไป เมื่อมีลูกแล้ว หรือเมื่อทำงานหนักไม่มีเวลา หรือเรียนหนักไม่มีเวลา แต่ว่าการให้เวลากับความโรแมนติก ก็เป็นการเติมเต็มชีวิตคู่เหมือนกัน  woow ! 😉

๘. การที่จะไปถึงความสำเร็จในสิ่งที่ยากแต่คุ้มค่า อาจหมายถึง ความไม่บาล๊านซ์ของชีวิตคุณ ซึ่งมันอาจจะเอียงๆ  หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง  แต่ขอให้คิดว่า มันจะไม่เป็นแบบนี้ตลอดไป ชีวิตจะต้องดำเนินต่อไป แต่ขอให้ยอมรับในความ craziness หรือเกิดความผิดพลาดจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ หรือสามีคุณ หรือ ภรรยา ของคุณอาจจะขัดแย้งกับพี่เลี้ยงเด็ก หรือลูกอาจจะเป็นไข้ในสัปดาห์ที่คุณต้องทำการแก้ไขงานวิจัยส่งอาจารย์ หรืออาจจะเป็นเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้น เช่น คุณพ่อป่วย หรือคุณแม่ เสียชีวิต ในช่วงที่คุณกำลังแก้ไขงานวิทยานิพนธ์ ใช่ คุณอาจจะต้องหยุดการเรียนเป็นช่วงสั้นๆ เพื่องานของบุพการี แต่ต้องคอยเตือนตัวเองว่า ความก้าวหน้าของคุณจะรอนานเกินไปไม่ได้ ดังนั้นคุณอาจจะต้อง ทำวิทยานิพนธ์ไปด้วย ร้องไห้ไปด้วย กินชอคโกแลตไปด้วย (บางงานศพของฝรั่งเค๊าจะแจกช๊อคโกแลตให้ผู้มาร่วมงานค่ะ เคยไปงานศพญาติเป็นคนสวิส เค๊าแจกชอคโกแลตค่ะ)  ดังนั้นคู่ชีวิตของคุณและลูก อาจจะต้องเข้ามาช่วยเหลือดูแลคุณในช่วงนี้  ทำอย่างไรคุณจะสามารถทำความ บาล๊านซ์ให้กับชีวิตคุณได้ ก็ต้องหาวิธี

๙. บางวันคลอเลท เค๊าจะอนุญาตให้พาครอบครัวไปได้  คุณก็อาจจะพาคู่ชีวิตของคุณ หรือลูกๆ ไปเยี่ยมชมสถานที่คุณศึกษา และแนะนำพวกเขาให้รู้ว่าเวลาอยู่โรงเรียนคุณชอบไปตรงไหน ทำอะไร คุยกับใคร จะช่วยให้คุณรู้สึกมีพลังและมีความสุข ที่คนในครอบครัวก็มีส่วนร่วมกับคุณเหมือนกัน

๑๐. การเฉลิมฉลอง เมื่อคุณทำสิ่งใดๆสำเร็จ เช่นคุณสอบผ่านในวิชายากส์ที่สุด👍 หรือ เมื่อเวลาที่คุณเรียนจบแล้ว  แต่น แตน แต๊น การ celebrate เฉลิมฉลอง ก็เกิดขึ้นแล้วครับท่าน  ถึงแม้ว่าจะเป็นปาร์ตี้เล็กๆ ที่มีแค่คู่ชีวิตและลูกของคุณ ก็ตาม 👪 แต่เขาเหล่านั้นคู่ควรกับการได้รับสิ่งตอบแทนนี้ 

โชคดี มีความสุขกาย สุขใจค่ะ 💖



วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เรียนวิชาพยาบาล หรือการเรียนวิชาเนื้อหาความรู้ใหม่ๆควรทำอย่างไรดี

๑. ต้องเข้าชั้นเรียนทุกครั้ง show up every time และจัดลำดับความสำคัญวิชาไหนสำคัญสูงสุด และถ้าคุณมีลูก การมาเรียนตรงเวลาทุกครั้งนั้น อาจเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น หากคุณรู้ว่าจะมาสายหรือไม่สามารถเข้าชั้นเรียนได้ โปรดติดต่ออาจารย์ล่วงหน้า หรือถ้าไม่สามารถติดต่ออาจารย์ได้ คุณก็ต้องติดต่อเพื่อนสนิท 

๒. นั่งใกล้ด้านหน้า Sit near the front ถ้าคุณเป็นคนขี้อาย การนั่งข้างหน้าในตอนแรกอาจทำให้คุณรู้สึกอึดอัด แต่ก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการใส่ใจในสิ่งที่อาจารย์สอน คุณสามารถได้ยินชัดขี้น และมองเห็นชัดเจน

๓. Attentiveness ความเอาใจใส่ สุภาพ และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน

๔. Ask questions การถามคำถาม ถ้าคุณไม่เข้าใจอะไรบางอย่าง หรือหากคุณนั่งอยู่แถวหน้าอยู่แล้ว แล้วคุณมองสบตากับอาจารย์ผู้สอน แล้วคุณมีอาการแสดงออกด้วยอาการคิ้วผูกโบว์  ผู้สอนก็อาจจะรู้อยู่แล้วล่ะว่า คุณไม่เข้าใจอะไรบางอย่าง  หากไม่เหมาะสมที่จะขัดจังหวะในการถามให้คุณจดคำถามของคุณไว้อย่างรวดเร็วเพื่อที่คุณจะได้ไม่ลืมและถามในภายหลัง แต่ถ้าคุณลืมที่จะถาม ก็ให้ appointment ถามหลังเวลาเรียน 
อย่ากลัวที่จะถามคำถาม เพราะว่าโอกาสที่นักเรียนที่นั่งข้างๆ คุณก็อาจจะไม่เข้าใจเหมือนกัน

๕. Self discipline มีวินัยในตนเอง  ที่สำคัญคือวินัยในการบริหารเวลา การให้เวลาในการอ่าน และทำการบ้าน ต้องให้เวลาอย่างมาก เพราะไม่ใ่ช่ภาษาของเราดังนั้นการอ่านจะต้องใช้ทั้งการแปลและความเข้าใจ อาจจะต้องซื้อดิกชั่นเนอรี่ที่เป็นสำหรับวิชาพยาบาล และการเขียนก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  

๖. Intellectual Curiosity มีสติปัญญาและมีความกระตือรือล้นที่จะอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ให้เข้าใจ  ไม่อยากสับสน เพราะถ้าคุณรู้สึกเข้าใจในเนื้อหา ก็จะช่วยให้คุณมีพลังที่จะไปต่อ💃

๗. Active Approach โดยพื้นฐานการเข้าใจเนื้อหาเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น แต่วัตถุประสงค์หลักคือการต้องพยายามทำความเข้าใจว่าให้ถ่องแท้ โดยมีconcept ว่า How thing work and " WHY" จะไม่ใช่แค่เฉพาะการจำเป็นคำ คำ หรือจำสั้นๆเเพื่อนำไปสอบ แต่นักเรียนจะต้องเข้าใจใน whole process 

๘. Make Practice tests ฝึกหัดการตั้งคำถามเอง ซึ่งอาจจะช่วยๆกันคิด กับเพื่อนๆในกลุ่ม study group โดยอาจจะแบ่งความรับผิดชอบว่าใครรับผิดชอบบทไหน ส่วนไหน เรื่องไหน แล้วอีเมล์ส่งตามวันเวลาที่กำหนด

๙. Assignments การบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมาย ก็ต้องทำให้เรียบร้อย ดูดี และสะท้อนให้เห็นถึงความเอาใจใส่และความภาคภูมิใจในงานของตนเอง 

Have a nice study! 😍