คุณเคยต้องการมีใครสักคนมารับฟังคุณหรือไม่ ?
การรับฟัง ช่วยให้เพื่อนร่วมงาน หรือ คนป่วย รู้สึกมีค่า,รู้สึกขอบคุณ, รู้สึกน่าสนใจ,และรู้สึกถึงการได้รับความเคารพ. การสนทนาจะเริ่มจากปกติธรรมดาไปจนถึงในระดับที่ลึกขึ้น เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ในการทำงานของพวกเรา เมื่อเราเป็นผู้รับฟัง เราควรจะส่งเสริมทักษะให้กับผู้อื่น โดยการทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการสื่อสารในเชิงบวกและมีประสิทธิผล
ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน, การสื่อสารพูดคุยที่ดี จะช่วยให้เกิดความเข้าใจและมีผลลัพธ์มากขึ้น เช่นพยาบาลรับฟังคนไข้ของเธอ เพื่อช่วยให้คนไข้มีความมั่นใจในความปลอดภัย ในด้านการแพทย์ การรับฟังจะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยป้องกันความเข้าใจผิด และเรามักจะเรียนรู้ได้มากขึ้น เมื่อเราเป็นผู้ฟังมากกว่าตอนเราเป็นผู้พูด
จากการศึกษา พบว่า ทักษะในการเป็นผู้รับฟังที่ดี มีความจำเป็นต่อสังคม และอาชีพหน้าที่การงาน ซึ่งทักษะเหล่านี้เราสามารถเรียนรู้ได้
เทคนิค การฝึกทักษะการรับฟัง เป็นกฏทอง คือคุณหากต้องการรับฟังใครสักคน ให้คุณคิดว่าคุณต้องการรับฟังอย่างไร
แม้ว่าไอเดียความคิดส่วนใหญ่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่รู้แล้วและทำได้ง่าย แต่ก็ต้องใช้การฝึกฝนเพื่อพัฒนาทักษะ นี่คือสิ่งที่ผู้รับฟังที่ดีรู้ และคุณก็ควรทำเช่นกัน
๑. หันหน้าไปทางผู้พูด นั่งตัวตรง หรือ โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อแสดงความเอาใจใส่ โดยการผ่านภาษากาย
๒. สบตาให้อยู่ในระดับที่ ทุกคนสบายใจ
๓. ลดสิ่งรบกวนภายนอก ให้น้อยที่สุด เช่น คุณกำลังถือของอะไรอยู่ในมือให้วางลงก่อน(ถ้าจำเป็น)
๔. โต้ตอบผู้พูดตามความเหมาะสม เพื่อแสดงให้ผู้พูดรู้ว่าคุณเข้าใจ เช่น ครับ, ค่ะ, จ้ะ, หรือพึมพำ อืม," uh-huh", "um hmm", หรือคำพูด "really", "interesting" ทั้งนี้ ทั้งนั้น คุณจะใช้คำไหนให้เหมาะสมกับกิริยามารยาทก็ขึ้นอยู่กับคุณฟังใครพูดอยู่... เพื่อนฝูงหรือเจ้านาย หรืออาจจะตอบโต้ด้วยภาษากาย เช่น พยักหน้า หรือเลิกคิ้ว หรือการถามให้ตรงประเด็นไปเลย เช่น what did you do then ตอนนั้นคุณทำอะไรอยู่ what did the doctor say? คุณหมอพูดอะไร
๕. มุ่งเน้นประเด็น รับฟังสิ่งที่ผู้ป่วยกำลังพูดอยู่กับคุณ หรือโฟกัสรับฟังสิ่งที่เพื่อนร่วมงานของคุณกำลังพูดหรืออธิบายอยู่กับคุณ พยายามอย่าไปโฟกัสถึงสิ่งที่คุณกำลังจะพูดอะไรต่อไป เพราะการสนธนาจะดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนหลังจากที่ผู้พูดชี้ประเด็นแล้วว่าผู้พูดต้องการอะไร
๖. ลดสิ่งที่รบกวนความคิดของคุณ ปลดปล่อยเรื่องราว มากมายที่วก วน วนเวียน รบกวน อยู่ในหัวสมองของคุณ ค่อยๆ ปลดปล่อยมันออกไป แล้ว มุ่งความสนใจไปที่ผู้พูดอย่างต่อเนื่อง ตั้งใจฟัง ทำเหมือนกับที่คุณทำในระหว่างการทำสมาธิ
๗. เปิดใจของคุณ รอจนกว่าผู้พูดจะพูดจบ ก่อนที่คุณจะตัดสินใจ ไม่เห็นด้วย พยายามอย่าตั้งสมมุติฐาน หรืออย่าเดาว่าผู้พูดกำลังคิดอะไรอยู่
๘. หลีกเลี่ยงการแจ้งให้ผู้พูดทราบว่าคุณเคยเจอและจัดการกับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันอย่างไร ถ้าผู้พูดไม่ได้ขอคำแนะนำ ให้ถือว่าผู้พูดแค่ต้องการ พูดออกไป หรือพูดเพียงเพื่อระบายความรู้สึกเท่านั้น
๙. ถึงแม้ว่าผู้พูดต้องการที่จะร้องเรียนคุณ หรือพูดปัญหาเพื่อโต้แย้งกับคุณ ขอให้คุณรับฟังเค๊าพูดให้จบก่อน, อย่าเพิ่งขัดจังหวะ รอจนกว่าผู้พูดจะพูดทุกสิ่งทุกอย่างที่เค๊าอยากพูดออกมา ไม่ว่าผู้พูดจะพูดเพื่อปกป้องตัวผู้พูดเอง หรือพูดเพื่อกล่าวหาคุณก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้คุณได้รับฟังเรื่องราวทั้งหมดที่ผู้พูดต้องการ ดึงประเด็นขึ้นมาพูด และพวกเค๊าก็ไม่ต้องการพูดซำ้ๆ หลายๆ ครั้ง
ถ้าคุณไปขัดจังหวะโดยคุณพยายามที่จะพูดเพื่อปกป้องตัวคุณเองในขณะที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่ยังไม่จบ ก็จะทำให้ต้องพูดซำ้ใหม่ ซึ่งเป็นการเสียเวลา และถ้าทั้งสองฝ่ายโต้กันไปโต้กันมาก็อาจจะไม่จบลงง่ายๆ ดังนั้นการอดทนรอรับฟังจนจบเรื่อง ก็จะช่วยให้คุณรู้ปัญหา ทั้งหมด ก่อนที่จะตอบกลับไป งานวิจัยแสดงไว้แล้วว่า โดยเฉลี่ยแล้ว เราสามารถได้ยินได้เร็วกว่าที่พูด ถึงสี่เท่า ดังนั้นเราจึงมีความสามารถในการเรียงลำดับความคิดเป็น การรับฟังเรื่องราวทั้งหมดให้จบก่อน ก็จะช่วยให้ผู้พูดมีเวลาเตรียมพร้อมสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
๑๐. ให้ตัวเองได้มีส่วนร่วม ถามคำถามเพื่อความกระจ่าง แต่ว่า รอจนกว่าผู้บรรยายจะพูดจบ ด้วยวิธีนี้ คุณจะไม่ขัดขวางความความคิดของผู้พูด ให้คุณถอดประเด็นคำถามออกมา แล้วถามกลับไปเพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้เข้าใจผิด
ในขณะที่คุณกำลังพัฒนาทักษะการฟังอยู่นั้น คุณอาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคย หรือไม่ถนัด เมื่อมีการหยุดสนทนาตามธรรมชาติ คุณควรพูดอะไรต่อไป เรียนรู้ที่จะจัดการกับความเงียบและใช้ เพื่อทำความเข้าใจทุกประเด็นให้ดีขึ้น เมื่อทักษะการฟังของคุณดีขึ้น ความสามารถไหวพริบ และปฏิภาณ ในการสนทนาก็จะดีขึ้นด้วยเช่นกัน
โชคดีมีความสุขค่ะ 💖😽
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น